เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการจับๆ ปล่อย ๆ พ้นกิเลสไม่ได้
คำว่า ละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นละ
ศาสดาองค์ก่อน อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดาองค์
ต่อมา ละธรรมที่ศาสดากล่าวสอนครั้งแรก อาศัย... ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนครั้ง
ต่อมา ละหมู่คณะแรก อาศัย... หมู่คณะต่อมา ละทิฏฐิแรก อาศัย... ทิฏฐิต่อมา
ละปฏิปทาแรก อาศัย... ปฏิปทาต่อมา ละมรรคแรก อาศัย คือ อิงอาศัย ติด
ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อมรรคต่อมา รวมความว่า ละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ... ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลส
เครื่องข้องไม่ได้ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความพลุ่งพล่าน คือ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า ไปตามความพลุ่งพล่าน อธิบายว่า ไปตามความพลุ่งพล่าน คือ
ตกไปตามความพลุ่งพล่าน ซ่านไปตามความพลุ่งพล่าน จมลงในความพลุ่งพล่าน
ได้แก่ ถูกความพลุ่งพล่านผลักให้ตกไป ถูกความพลุ่งพล่านครอบงำ มีจิตถูกความ
พลุ่งพล่านยึดครอง
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ... ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้ ได้แก่
ย่อมข้ามไม่ได้ คือ ข้ามไปไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้ ล่วงเลยไม่ได้ ซึ่งกิเลส
เครื่องข้องคือราคะ กิเลสเครื่องข้องคือโทสะ กิเลสเครื่องข้องคือโมหะ กิเลสเครื่อง
ข้องคือมานะ กิเลสเครื่องข้องคือทิฏฐิ กิเลสอันเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง กิเลสเครื่องข้อง
คือทุจริต รวมความว่า สมณพรหมณ์เหล่านั้น ... ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้าม
กิเลสเครื่องข้องไม่ได้
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือศาสดา ปล่อยศาสดานั้นแล้วก็ถือศาสดาองค์อื่น
ถือธรรมที่ศาสดากล่าวสอน ปล่อยธรรมนั้นแล้วก็ถือธรรมที่ศาสดากล่าวสอน
อื่น ถือหมู่คณะ ปล่อยหมู่คณะนั้นแล้วก็ถือหมู่คณะอื่น ถือทิฏฐิ ปล่อยทิฏฐินั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :110 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
แล้วก็ถือทิฏฐิอื่น ถือปฏิปทา ปล่อยปฏิปทานั้นแล้วก็ถือปฏิปทาอื่น ถือมรรค
ปล่อยมรรคนั้นแล้วก็ถือมรรคอื่น คือ ย่อมถือและย่อมปล่อย ชื่อว่าย่อมยึดถือ
และย่อมสลัดทิ้ง รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง
คำว่า เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น อธิบายว่า ลิงเที่ยวไปใน
ป่าดงใหญ่ จับกิ่งไม้แล้ว ปล่อยกิ่งนั้นก็จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วก็จับกิ่งอื่น ฉันใด
สมณพราหมณ์เป็นอันมากย่อมถือ และย่อมปล่อยทิฏฐิมากมาย ชื่อว่าย่อมยึดถือ
และย่อมสลัดทิ้งทิฏฐิมากมาย ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เหมือนลิงจับกิ่งไม้
แล้วก็ปล่อยฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง
ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง
เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น
[27] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง
ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ
ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว
เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ (แผ่นดิน)
ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ

ว่าด้วยการดำเนินไปลุ่มๆ ดอน ๆ
คำว่า สมาทาน...เอง ในคำว่า สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง ได้แก่
สมาทานด้วยตนเอง
คำว่า วัตรทั้งหลาย อธิบายว่า ถือเอา สมาทาน คือ ยึดถือ รับเอา ถือ
ยึดมั่น ถือมั่นวัตรเยี่ยงช้างบ้าง วัตรเยี่ยงม้าบ้าง วัตรเยี่ยงโคบ้างวัตรเยี่ยงสุนัขบ้าง
วัตรเยี่ยงกาบ้าง วัตรเยี่ยงท้าววาสุเทพบ้าง วัตรเยี่ยงพลเทพบ้าง วัตรเยี่ยง
ปุณณภัทรบ้าง วัตรเยี่ยงมณีภัทรบ้างวัตรคือการบูชาไฟบ้าง วัตรเยี่ยงนาคบ้าง
วัตรเยี่ยงครุฑบ้าง วัตรเยี่ยงยักษ์บ้าง วัตรเยี่ยงอสูรบ้าง ... วัตรคือการไหว้ทิศบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :111 }