เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ1 โยคะ2 คันถะ3 อุปาทาน4 อาวรณ์5
นิวรณ์6 เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส7 อนุสัย8 ปริยุฏฐาน(กิเลสที่กลุ้มรุมจิต)
ตัณหาดุจเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหา
ดุจตาข่าย ตัณหาดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมาย
อย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่า
วิสัตติกา เพราะขยายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะ
สะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีราก
เป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้
บริโภคสิ่งมีพิษ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไป คือ ซ่านไป ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต

เชิงอรรถ :
1 โอฆะ คือสภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (ที.ปา. 11/312/205)
2 โยคะ คือสภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (ที.ปา. 11/312/205)
3 คันถะ ดูรายละเอียดข้อ 92/286
4 อุปาทาน คือ ความยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี 4 คือ (1) กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (2) ทิฏฐุปาทาน
ความยึดมั่นในทิฏฐิ (3) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต (4) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่น
วาทะของตน (ที.ปา. 11/312/205)
5 อาวรณ์ คือสภาวะที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม (ขุ.ม.อ. 3/39)
6 นิวรณ์ คือสภาวะที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี มี 5 อย่าง (ดูความหมายข้อ 5/17)
7 อุปกิเลส คือสภาวะที่ทำให้จิตเศร้าหมองขุ่นมัว มี 16 อย่าง (ดูรายละเอียดข้อ 5/17)
8 อนุสัย คือกิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ มี 7 คือ (1) กามราคะ ความกำหนัดในกาม
(2) ปฏิฆะ ความหงุดหงิดขัดเคือง (3) ทิฏฐิ ความเห็นผิด (4) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (5) มานะ
ความถือตัว (6) ภวราคะ ความกำหนัดในภพ (7) อวิชชา ความไม่รู้จริง (ที.ปา. 11/332/223)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :11 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ1 รูปธาตุ2 อรูปธาตุ3 กามภพ รูปภพ
อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ4
จตุโวการภพ5 ปัญจโวการภพ6 อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก(โลกคือ
ขันธ์ 5) ธาตุโลก(โลกคือธาตุ 18) อายตนโลก(โลกคืออายตนะ 12)
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
2. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
3. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
4. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
มีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
3. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรง ข้ามกับสติ
4. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ
มีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 1/2
2 ดูเชิงอรรถข้อ 1/2
3 ดูเชิงอรรถข้อ 1/2
4 เอกโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยรูปขันธ์ 1 หรือภพที่มีขันธ์ 1 ได้แก่ อสัญญาภพ
5 จตุโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยอรูปขันธ์ 4 หรือภพที่มีขันธ์ 4 ได้แก่ อรูปภพ
6 ปัญจโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 หรือภพที่มีขันธ์ 5 ปัญจโวการภพนี้เป็นกามภพด้วย
เป็นเอกเทศแห่งรูปภพด้วย (ขุ.ม.อ. 3/42)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :12 }