เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า เมื่อรู้จริงอย่างนี้ ก็รู้แล้วว่าความเห็นนี้ยอดเยี่ยม อธิบายว่า เมื่อ
รู้จริง คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอย่างนี้ ก็รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบ
เคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า "ความเห็นนี้ เยี่ยม
คือ ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด" รวมความว่า เมื่อรู้จริงอย่างนี้
ก็รู้แล้วว่า ความเห็นนี้ยอดเยี่ยม
คำว่า จึงเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความหมดจด เพราะฉะนั้น ย่อมเชื่อว่า
ความเห็นนั้นเป็นญาณ อธิบายว่า ผู้ใดเห็นนรชนผู้หมดจด ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ตาม
พิจารณาเห็นความหมดจด
คำว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ อธิบายว่า ย่อมเชื่อการเห็นรูปด้วย
จักขุวิญญาณว่า เป็นญาณ เป็นมรรค เป็นทาง เป็นทางนำออกจากทุกข์ รวมความว่า
จึงเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความหมดจด เพราะฉะนั้น ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็น
ญาณ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราเห็นนรชนผู้หมดจดว่า เป็นผู้ไม่มีโรคอย่างยิ่ง
ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
บุคคลเมื่อรู้จริงอย่างนี้ ก็รู้แล้วว่าความเห็นนี้ยอดเยี่ยม
จึงเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความหมดจด
เพราะฉะนั้น ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็นญาณ
[24] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ถ้าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
หรือถ้านรชนนั้นละทุกข์ได้เพราะญาณ
นรชนผู้ยังมีอุปธินั้น ย่อมหมดจดเพราะมรรคอื่น(ก็ได้)
เพราะว่าทิฏฐิย่อมบ่งบอกถึงนรชนนั้นผู้พูดอย่างนั้น

ว่าด้วยความหมดจดเป็นต้น
คำว่า ถ้าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น อธิบายว่า ถ้า
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความ
หลุดพ้นไป ย่อมมีแก่นรชนเพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ นรชนย่อมหมดจด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :102 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปเพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ
รวมความว่า ถ้าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
คำว่า หรือถ้านรชนนั้นละทุกข์ได้เพราะญาณ อธิบายว่า ถ้านรชนนั้น
ละชาติทุกข์(ทุกข์เพราะความเกิด) ชราทุกข์(ทุกข์เพราะความแก่) พยาธิทุกข์(ทุกข์
เพราะความเจ็บป่วย) มรณทุกข์(ทุกข์เพราะความตาย) ทุกข์คือโสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส
(ความคับแค้นใจ) เพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ รวมความว่า หรือถ้านรชน
นั้นละทุกข์ได้เพราะญาณ
คำว่า นรชนผู้ยังมีอุปธินั้น ย่อมหมดจดเพราะมรรคอื่น(ก็ได้) อธิบายว่า
นรชนย่อมหมดจด คือ สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปเพราะมรรคอื่น
คือมรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทาที่ผิด ทางที่มิใช่นำออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ 8
คำว่า ผู้ยังมีอุปธิ ได้แก่ ผู้ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีมานะ ยังมี
ตัณหา ยังมีทิฏฐิ ยังมีกิเลส ยังมีอุปาทาน รวมความว่า นรชนผู้ยังมีอุปธินั้น ย่อม
หมดจดเพราะมรรคอื่น(ก็ได้)
คำว่า เพราะว่าทิฏฐิย่อมบ่งบอกถึงนรชนนั้นผู้พูดอย่างนั้น อธิบายว่า
ทิฏฐินั้นแหละบ่งบอกถึงบุคคลนั้นว่า บุคคลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตด้วย
ประการอย่างนี้
คำว่า ผู้พูดอย่างนั้น ได้แก่ ผู้พูด คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงอย่างนั้นว่า
"โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" ... ผู้พูด คือ กล่าว บอก แสดง
ชี้แจงอย่างนั้นว่า "โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะ1กับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต2
เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" รวมความว่า เพราะว่าทิฏฐิย่อมบ่งบอกถึงนรชนนั้น

เชิงอรรถ :
1 ชีวะ ดูเชิงอรรถข้อ 16/77
2 ตถาคต ดูเชิงอรรถข้อ 16/77

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :103 }