เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [20.สัตตตินิบาต] 1.กุสชาดก (531)
[15] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทำสร้อยคอทองคำแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง
จะพึงเจรจากับเรา
[16] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทำสร้อยคอทองคำแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง
จะพึงทรงยิ้มแย้มให้เรา
[17] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทำสร้อยคอทองคำแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง
จะพึงทรงพระสรวลกับเรา
[18] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทำสร้อยคอทองคำแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง
จะพึงทรงจับต้องเราด้วยพระหัตถ์ทั้ง 2
(นางค่อมไปกราบทูลพระนางประภาวดีว่า)
[19] ก็พระราชบุตรีพระองค์นี้คงจะไม่ประสบ
แม้ความสำราญพระทัยในพระเจ้ากุสะ
ผู้เป็นคนครัว คนรับใช้ คนเลี้ยงดู
ซึ่งไม่ทรงประสงค์ค่าจ้างอย่างแน่แท้
(พระนางประภาวดีตรัสว่า)
[20] ก็นางค่อมคนนี้คงยังไม่ได้ถูกมีดคมตัดลิ้นแน่นอน
จึงยังกล่าวชั่วช้าอย่างนี้อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :58 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [20.สัตตตินิบาต] 1.กุสชาดก (531)
(นางค่อมประกาศความดีของพระโพธิสัตว์ว่า)
[21] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทำ(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระยศใหญ่
แล้วทำความรักในความงามเถิด
[22] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทำ(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีทรัพย์มากมาย
แล้วทำความรักในความงามเถิด
[23] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทำ(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระกำลังมาก
แล้วทำความรักในความงามเถิด
[24] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทำ(พระทัย)ว่า
พระองค์ทรงมีพระราชอาณาจักรกว้างใหญ่
แล้วทำความรักในความงามเถิด
[25] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทำ(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงเป็นมหาราช
แล้วทำความรักในความงามเถิด
[26] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทำ(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระสุรเสียงดังราชสีห์
แล้วทำความรักในความงามเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :59 }