เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [22.มหานิบาต] 9.วิธุรชาดก (546) ราชวสตีธรรม
เพราะนั่นมิใช่ธรรมของพวกข้าพระองค์
ข้าแต่สมมติเทพ พวกข้าพระองค์
จะพึงมีอาสนะเสมอกับพระองค์ได้อย่างไร
เหมือนสุนัขจิ้งจอกตัวมีชาติต่ำต้อย
จะพึงมีอาสนะเสมอกับเสือได้อย่างไร พระเจ้าข้า
ลักขณกัณฑ์ จบ

ราชวสตีธรรม
ว่าด้วยธรรมสำหรับผู้อยู่ในราชสำนัก
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[1471] “วิธุรบัณฑิตนั้นมีความดำริในใจที่ไม่หดหู่
ได้กล่าวกับบุตร ธิดา อำมาตย์ ญาติ
และเพื่อนสนิทดังนี้ว่า
[1472] “ลูกรักทั้งหลาย ลูกทั้งหลายจงพากันมา
นั่งฟังราชวสตีธรรม1 ที่เป็นเหตุให้บุคคล
ผู้เข้าไปสู่ราชตระกูลแล้วได้ยศ
[1473] เพราะบุคคลผู้เข้าไปสู่ราชตระกูล
มีคุณความดียังไม่ปรากฏ ย่อมไม่ได้ยศ
ผู้เป็นราชเสวกไม่ควรกล้าเกินไป
ไม่ควรขลาดเกินไป ควรเป็นผู้ไม่ประมาทไม่ว่าในกาลไหน ๆ
[1474] เมื่อใด พระราชาทรงทราบปัญญา
และความบริสุทธิ์ของราชเสวกนั้น
เมื่อนั้น พระองค์ก็ทรงวางพระทัย
และไม่ทรงปกปิดความลับของพระองค์

เชิงอรรถ :
1 ราชวสตีธรรม หมายถึงธรรมของผู้รับราชการ, ผู้ปฏิบัติราชการ (ขุ.ชา.อ. 10/1472/233)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :414 }