เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [22.มหานิบาต] 8.มหานารทกัสสปชาดก (545)
[1189] สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ทัดเทียมกันหมด
ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มี
กำลังหรือความเพียรไม่มี
บุรุษผู้มีความหมั่นจะได้รับผลแต่ที่ไหน
สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดตามกันมาเหมือนเรือพ่วงตามเรือไป
[1190] สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรจะได้
ในข้อนั้น ผลทานจะมีแต่ที่ไหน
ข้าแต่สมมติเทพ ผลทานไม่มี
เขาไม่มีอำนาจ ไม่มีความเพียร1 พระเจ้าข้า
[1191] พวกคนพาลบัญญัติทาน พวกบัณฑิตรับทาน
พวกคนพาลถือตนว่าเป็นบัณฑิต เป็นผู้ไร้อำนาจ
ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย
[1192] รูปกายอันเป็นที่รวม 7 ประการนี้ คือ
(1) ดิน (2) น้ำ (3) ไฟ (4) ลม
(5) สุข (6) ทุกข์ (7) ชีวิต เป็นของเที่ยง
ไม่ขาดสูญ ไม่กำเริบ
ความขาดสูญไม่มีแก่สัตว์เหล่าใด
รูปกาย 7 ประการนี้ย่อมมีแก่สัตว์เหล่านั้น
[1193] ผู้ฆ่า ผู้ตัด หรือใคร ๆ ผู้ถูกฆ่า ก็ไม่มี
ศัสตราทั้งหลายสอดแทรกเข้าไป
ในระหว่างรูปกาย 7 ประการนี้

เชิงอรรถ :
1 เขาไม่มีอำนาจ ไม่มีความเพียร หมายถึงเมื่อผลทานไม่มีอย่างนี้ ใครคนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นคนโง่ก็ยังให้
ทานอยู่ แต่เขาไม่มีอำนาจ ไม่มีความเพียร โดยสรุปอาชีวกกราบทูลชี้แจงว่า คนผู้นั้นไม่เชื่อว่าให้ทาน
ด้วยอำนาจ ด้วยกำลังของตน แต่สำคัญว่า ผลทานมีจึงให้ทาน เพราะเชื่อคนโง่พวกอื่น (ขุ.ชา.อ.
10/1190/139)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :368 }