เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [22.มหานิบาต] 2.มหาชนกชาดก (539)
8.-11. ขุมทรัพย์ที่ไม้สาละทั้ง 4
12. ขุมทรัพย์ที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ
13. ขุมทรัพย์ที่ปลายงาทั้ง 2
14. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง
15. ขุมทรัพย์ที่สระน้ำ
16. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน
บัลลังก์สี่เหลี่ยม ผู้ทำเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี
[133] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่ตนปรารถนา
[134] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้ำขึ้นบกแล้ว
[135] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่ตนปรารถนา
[136] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้ำขึ้นบกแล้ว

เชิงอรรถ :
14. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงปลายหางของช้างมงคลในโรงช้างมงคล
15. ขุมทรัพย์ที่สระน้ำ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ในสระโบกขรณีมงคล
16. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้ต้นรังใหญ่ในพระราชอุทยาน เวลาเที่ยงวันเงาจะอยู่
ที่โคนต้น จึงให้ขุดทรัพย์ที่นั้น ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน หมายถึงธนูที่ใช้แรงคนโก่งหนึ่งพันคน แต่
พระมหาชนกโก่งได้โดยง่ายเหมือนธนูดีดฝ้ายของสตรี บัลลังก์สี่เหลี่ยม ก็ทรงทราบด้านศีรษะของ
บัลลังก์ให้พระนางสีวลีเอาปิ่นปักพระเกศาวาง ผู้ทำเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี หมายถึงพระนางสีวลี
ยินดีกับชายใด ชายนั้นจะได้ครองราชย์ พระมหาชนกเป็นที่โปรดปรานของพระนางสีวลีตั้งแต่แรกพบ
ถึงกับยื่นพระหัตถ์ให้เกาะ ท้าวเธอก็ทรงเกาะพระหัตถ์พระนางขึ้นสู่ปราสาท
(ขุ.ชา.อ. 9/132/164-165)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :205 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [22.มหานิบาต] 2.มหาชนกชาดก (539)
[137] คนมีปัญญาแม้ถูกทุกข์กระทบแล้ว
ก็ไม่พึงทำลายความหวัง เพื่อการมาถึงแห่งความสุข
เพราะสัมผัสมีมากอย่างทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
ผู้ไม่นึกถึงประโยชน์ย่อมเข้าถึงความตาย
[138] สิ่งที่ไม่ได้คิดกลับเป็นไปได้ สิ่งที่คิดแล้วกลับพินาศไป
ทรัพย์สมบัติทั้งหลายของหญิงหรือชาย
หาได้สำเร็จด้วยความคิดไม่
(ชาวเมืองกล่าวกันว่า)
[139] ท่านผู้เจริญ พระราชาผู้ครอบครองพื้นที่ทั้งปวง
เป็นใหญ่ในทิศ ไม่เป็นเหมือนแต่ก่อนหนอ
วันนี้ ไม่ทอดพระเนตรการฟ้อนรำ
ไม่ทรงใส่พระทัยในการขับร้อง
[140] ไม่ทอดพระเนตรฝูงเนื้อ ไม่เสด็จประพาสพระราชอุทยาน
ไม่ทอดพระเนตรฝูงหงส์
พระองค์ทรงประทับนิ่งเฉยเหมือนคนใบ้
ไม่ทรงว่าราชการเลย
(พระโพธิสัตว์ทรงระลึกถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงเปล่งอุทานว่า)
[141] นักปราชญ์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข
มีปกติหลีกเร้น ปราศจากเครื่องผูกคือกิเลส
ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ก้าวล่วงตัณหาเสียได้
ย่อมอยู่ ณ อารามของใครหนอในวันนี้
[142] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนักปราชญ์เหล่านั้นผู้แสวงหาคุณใหญ่
นักปราชญ์เหล่าใดเป็นผู้ไม่ขวนขวายอยู่ในโลกที่ถึงความขวนขวาย
[143] นักปราชญ์เหล่านั้นตัดข่ายคือตัณหาอันมั่นคงแห่งมฤตยู
ที่มีมายาอย่างยิ่งทำลายด้วยญาณไปอยู่
ใครเล่าจะพึงนำเราไปให้ถึงสถานที่อยู่ของนักปราชญ์เหล่านี้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :206 }