เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [22.มหานิบาต] 2.มหาชนกชาดก (539)
8.-11. ขุมทรัพย์ที่ไม้สาละทั้ง 4
12. ขุมทรัพย์ที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ
13. ขุมทรัพย์ที่ปลายงาทั้ง 2
14. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง
15. ขุมทรัพย์ที่สระน้ำ
16. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน
บัลลังก์สี่เหลี่ยม ผู้ทำเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี
[133] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่ตนปรารถนา
[134] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้ำขึ้นบกแล้ว
[135] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่ตนปรารถนา
[136] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่ำไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้ำขึ้นบกแล้ว

เชิงอรรถ :
14. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงปลายหางของช้างมงคลในโรงช้างมงคล
15. ขุมทรัพย์ที่สระน้ำ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ในสระโบกขรณีมงคล
16. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้ต้นรังใหญ่ในพระราชอุทยาน เวลาเที่ยงวันเงาจะอยู่
ที่โคนต้น จึงให้ขุดทรัพย์ที่นั้น ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน หมายถึงธนูที่ใช้แรงคนโก่งหนึ่งพันคน แต่
พระมหาชนกโก่งได้โดยง่ายเหมือนธนูดีดฝ้ายของสตรี บัลลังก์สี่เหลี่ยม ก็ทรงทราบด้านศีรษะของ
บัลลังก์ให้พระนางสีวลีเอาปิ่นปักพระเกศาวาง ผู้ทำเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี หมายถึงพระนางสีวลี
ยินดีกับชายใด ชายนั้นจะได้ครองราชย์ พระมหาชนกเป็นที่โปรดปรานของพระนางสีวลีตั้งแต่แรกพบ
ถึงกับยื่นพระหัตถ์ให้เกาะ ท้าวเธอก็ทรงเกาะพระหัตถ์พระนางขึ้นสู่ปราสาท
(ขุ.ชา.อ. 9/132/164-165)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :205 }