เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [22.มหานิบาต] 2.มหาชนกชาดก (539)
(เทพธิดากล่าวว่า)
[125] ฝั่งสมุทรอันลึกประมาณไม่ได้ยังไม่ปรากฏ
ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่านย่อมเปล่าประโยชน์
ยังไม่ทันจะถึงฝั่งเลย ท่านก็จักตายแน่
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[126] บุคคลผู้ทำหน้าที่ของลูกผู้ชายอยู่
จะไม่ถูกหมู่ญาติ เทวดา และพรหมทั้งหลายนินทา
ทั้งจะไม่เดือดร้อนในภายหลัง
(เทพธิดากล่าวว่า)
[127] การงานที่ให้ถึงฝั่งไม่ได้
ปราศจากผล ก่อให้เกิดความลำบาก
และความตาย ย่อมมีได้เพราะทำการงานใด
ประโยชน์อะไรด้วยความพยายาม ในการงานนั้น
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[128] เทพธิดา บุคคลใดรู้ว่า
งานสุดวิสัยเกินตัวแล้ว ไม่รักษาชีวิตของตน
ถ้าผู้นั้นคลายความเพียรเสีย ก็จะพึงรู้ผลของงานนั้น
[129] เทพธิดา คนบางพวกในโลกนี้
พิจารณาเห็นผลแห่งความมุ่งประสงค์ของตน
จึงประกอบการงานทั้งหลาย
การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตามที
[130] เทพธิดา ท่านกำลังเห็นผลงานที่ประจักษ์แก่ตนเองแล้วมิใช่หรือ
คนอื่น ๆ พากันจมน้ำแล้ว
เราคนเดียวเท่านั้นพยายามข้ามอยู่
และยังเห็นท่านอยู่ใกล้เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :203 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [22.มหานิบาต] 2.มหาชนกชาดก (539)
[131] เรานั้นจักพยายามตามกำลังความสามารถ
จักไปให้ถึงฝั่งสมุทร
จักทำความเพียรอย่างลูกผู้ชาย
(ต่อมา พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติในเมืองมิถิลาแล้ว ทรงระลึกถึงผลแห่ง
ความเพียรชอบของพระองค์ ทรงเปล่งอุทานด้วยกำลังปีติว่า)
[132] ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม
ไม่จมลงในห้วงมหรรณพที่หาประมาณมิได้เห็นปานนี้ด้วยการกระทำ
ท่านนั้นจงไปในสถานที่ที่ท่านชอบใจเถิด
ขุมทรัพย์ใหญ่ 16 ขุม1นี้ คือ
1. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ขึ้น
2. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ตก
3. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน
4. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก
5. ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่ภายในภายนอก
6. ขุมทรัพย์ที่ทางขึ้น
7. ขุมทรัพย์ที่ทางลง

เชิงอรรถ :
1 ขุมทรัพย์ใหญ่ 16 ขุมที่พระเจ้าโปลชนกทรงฝังไว้ อธิบายโดยย่อ ดังนี้
1. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ขึ้น หมายถึงที่ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้า
2. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ตก หมายถึงที่ส่งพระปัจเจกพุทธเจ้ากลับ
3. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน หมายถึงขุมทรัพย์ที่อยู่ภายในประตูใหญ่พระราชวัง
4. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก หมายถึงขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอกประตูใหญ่พระราชวัง
5. ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่ภายในภายนอก หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ภายใต้ธรณีประตู
6. ขุมทรัพย์ที่ทางขึ้น หมายถึงขุมทรัพย์ตรงที่ลาดบันได เวลาเสด็จขึ้นช้างมงคล
7. ขุมทรัพย์ที่ทางลง หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงที่เสด็จลงจากคอช้าง
8.-11. ขุมทรัพย์ที่ไม้สาละทั้ง 4 หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ที่เท้าพระแท่นบรรทมทั้ง 4
12. ขุมทรัพย์ที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ชั่วแอก (หนึ่งวา) รอบที่บรรทม
13. ขุมทรัพย์ที่ปลายงาทั้ง 2 หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงปลายงาทั้ง 2 ของช้างมงคลในโรงช้างมงคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 28 หน้า :204 }