เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 4. อสทิสวรรค 7. จตุมัฏฐชาดก (187)
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลแจ้งเหตุของมะม่วงนั้นว่า)
[72] ข้าแต่พระเจ้าทธิวาหนะ
มะม่วงของพระองค์มีต้นสะเดาล้อมรอบ
รากกับรากเกี่ยวพันกัน กิ่งกับกิ่งประสานกัน
เพราะการเกี่ยวข้องกับต้นไม้ที่มีรสขมไม่น่าพอใจนั้น
มะม่วงต้นนี้จึงกลายเป็นไม้ที่มีรสขมไป
ทธิวาหนชาดกที่ 6 จบ

7. จตุมัฏฐชาดก (187)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกมีเหตุชั่วช้า 4 ประการ
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์สนทนากับพญาหงส์ว่า)
[73] ท่านทั้ง 2 พากันขึ้นไปยังค่าคบไม้
อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากันบนต้นไม้สูง
เชิญท่านลงมาปรึกษากันข้างล่างเถิด
พญาเนื้อจะได้ฟังบ้าง
(ในเวลาที่ลูกหงส์ 2 ตัวรังเกียจสุนัขจิ้งจอกแล้วพากันบินกลับไป พระโพธิสัตว์
จึงกล่าวว่า)
[74] ครุฑกับครุฑพึงปรึกษากัน
เทวดากับเทวดาพึงปรึกษากัน
เรื่องนั้นจะมีประโยชน์อะไรแก่สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า 4 ประการ1
นี่สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า เจ้าจงเข้าโพรงไปเถิด
จตุมัฏฐชาดกที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ชั่วช้า 4 ประการ ได้แก่ (1) รูปไม่งาม (2) ชาติกำเนิดต่ำ (3) เสียงไม่ไพเราะ (4) ด้อยคุณธรรม
(ขุ.ชา.อ. 3/74/107)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :83 }