เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 4. อสทิสวรรค 7. จตุมัฏฐชาดก (187)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลให้หาคนเลี้ยงม้าที่ดีมาว่า)
[68] ถ้าคนประกอบด้วยอาการอันงดงามที่สมควรแก่ม้านั้น
พึงจับม้านั้นที่บังเหียน แล้วจูงไปรอบ ๆ สนามม้าไซร้
ม้านั้นจะละอาการเขยกแล้วเลียนแบบคนเลี้ยงม้านั้นโดยพลัน
คิริทัตตชาดกที่ 4 จบ

5. อนภิรติชาดก (185)
ว่าด้วยจิตขุ่นมัวและไม่ขุ่นมัว
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์ถามมาณพผู้เป็นศิษย์ถึงสาเหตุที่มนต์เสื่อม
หายไปแล้ว จึงกล่าวว่า)
[69] เมื่อน้ำขุ่น ไม่ใส บุคคลย่อมไม่เห็นหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด เม็ดทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
[70] เมื่อน้ำใสสะอาด บุคคลย่อมเห็นหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด เม็ดทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็นประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
อนภิรติชาดกที่ 5 จบ

6. ทธิวาหนชาดก (186)
ว่าด้วยพระเจ้าทธิวาหนะ
(พระเจ้าทธิวาหนะตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[71] ในกาลก่อน มะม่วงนี้มีผิวสวย กลิ่นหอม
รสอร่อย ได้รับการบำรุงเหมือนเดิม
เพราะเหตุไร จึงกลับกลายเป็นมะม่วงที่มีรสขมไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :82 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 4. อสทิสวรรค 7. จตุมัฏฐชาดก (187)
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลแจ้งเหตุของมะม่วงนั้นว่า)
[72] ข้าแต่พระเจ้าทธิวาหนะ
มะม่วงของพระองค์มีต้นสะเดาล้อมรอบ
รากกับรากเกี่ยวพันกัน กิ่งกับกิ่งประสานกัน
เพราะการเกี่ยวข้องกับต้นไม้ที่มีรสขมไม่น่าพอใจนั้น
มะม่วงต้นนี้จึงกลายเป็นไม้ที่มีรสขมไป
ทธิวาหนชาดกที่ 6 จบ

7. จตุมัฏฐชาดก (187)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกมีเหตุชั่วช้า 4 ประการ
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์สนทนากับพญาหงส์ว่า)
[73] ท่านทั้ง 2 พากันขึ้นไปยังค่าคบไม้
อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากันบนต้นไม้สูง
เชิญท่านลงมาปรึกษากันข้างล่างเถิด
พญาเนื้อจะได้ฟังบ้าง
(ในเวลาที่ลูกหงส์ 2 ตัวรังเกียจสุนัขจิ้งจอกแล้วพากันบินกลับไป พระโพธิสัตว์
จึงกล่าวว่า)
[74] ครุฑกับครุฑพึงปรึกษากัน
เทวดากับเทวดาพึงปรึกษากัน
เรื่องนั้นจะมีประโยชน์อะไรแก่สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า 4 ประการ1
นี่สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า เจ้าจงเข้าโพรงไปเถิด
จตุมัฏฐชาดกที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ชั่วช้า 4 ประการ ได้แก่ (1) รูปไม่งาม (2) ชาติกำเนิดต่ำ (3) เสียงไม่ไพเราะ (4) ด้อยคุณธรรม
(ขุ.ชา.อ. 3/74/107)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :83 }