เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 4. อสทิสวรรค 4. คิริทัตตชาดก (184)
[63] พญากุญชร ท่านได้ชื่อว่าเจนสงคราม กล้าหาญ มีกำลังมาก
ทำไมหนอ มาใกล้เขื่อนประตูแล้วจึงถอยกลับเสียเล่า
[64] พญากุญชร ท่านจงหักลิ่มกลอน จงถอนเสาระเนียด
จงเหยียบทำลายซุ้มประตู และจงเข้าไปในเมืองโดยเร็ว
สังคามาวจรชาดกที่ 2 จบ

3. วาโลทกชาดก (183)
ว่าด้วยลากินน้ำหาง
(พระราชาตรัสเรียกอำมาตย์โพธิสัตว์ผู้อยู่ใกล้มา ตรัสถามกิริยาของพวกลาว่า)
[65] เพราะดื่มน้ำหางอันมีรสน้อย อันเป็นน้ำเลว
ความเมาจึงเกิดแก่พวกลา
แต่ความเมาก็ไม่เกิดขึ้นแก่ม้าสินธพ
เพราะดื่มน้ำมีรสอันประณีตนี้
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[66] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ลานั้นมีชาติเลวทราม
ดื่มน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้วย่อมเมา
ส่วนม้าสินธพเกิดในตระกูล มีปกตินำพาธุระ
ดื่มน้ำมีรสอันเลิศแล้ว ก็ไม่เมา
วาโลทกชาดกที่ 3 จบ

4. คิริทัตตชาดก (184)
ว่าด้วยม้าเลียนแบบนายคิริทัตต์
(อำมาตย์โพธิสัตว์ตรวจดูอาการของม้าพิการแล้ว กราบทูลพระราชาว่า)
[67] ม้ามงคลชื่อปัณฑวะของพระเจ้าสาม
ถูกนายคิริทัตต์ประทุษร้ายแล้ว
จึงละปกติเดิมของตน เลียนแบบนายคิริทัตต์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :81 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 4. อสทิสวรรค 7. จตุมัฏฐชาดก (187)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลให้หาคนเลี้ยงม้าที่ดีมาว่า)
[68] ถ้าคนประกอบด้วยอาการอันงดงามที่สมควรแก่ม้านั้น
พึงจับม้านั้นที่บังเหียน แล้วจูงไปรอบ ๆ สนามม้าไซร้
ม้านั้นจะละอาการเขยกแล้วเลียนแบบคนเลี้ยงม้านั้นโดยพลัน
คิริทัตตชาดกที่ 4 จบ

5. อนภิรติชาดก (185)
ว่าด้วยจิตขุ่นมัวและไม่ขุ่นมัว
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์ถามมาณพผู้เป็นศิษย์ถึงสาเหตุที่มนต์เสื่อม
หายไปแล้ว จึงกล่าวว่า)
[69] เมื่อน้ำขุ่น ไม่ใส บุคคลย่อมไม่เห็นหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด เม็ดทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
[70] เมื่อน้ำใสสะอาด บุคคลย่อมเห็นหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด เม็ดทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็นประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
อนภิรติชาดกที่ 5 จบ

6. ทธิวาหนชาดก (186)
ว่าด้วยพระเจ้าทธิวาหนะ
(พระเจ้าทธิวาหนะตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[71] ในกาลก่อน มะม่วงนี้มีผิวสวย กลิ่นหอม
รสอร่อย ได้รับการบำรุงเหมือนเดิม
เพราะเหตุไร จึงกลับกลายเป็นมะม่วงที่มีรสขมไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :82 }