เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 2. สีลวรรค 7. มาลุตชาดก (17)
[15] แม่ขราทิยา เราไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อ
ที่มีกีบเท้า 8 กีบ มีเขาคดตั้งแต่โคนจรดปลาย
ที่ละเลยโอวาทตลอด 7 วันตัวนั้นได้
ขราทิยชาดกที่ 5 จบ

6. ติปัลลัตถมิคชาดก (16)
ว่าด้วยเนื้อลวงนายพรานด้วยการนอน 3 ท่า
(พญาเนื้อโพธิสัตว์กล่าวแก่น้องสาวว่า)
[16] น้องหญิง พี่ให้เนื้อ(หลานชาย)ที่มีกีบเท้า 8 กีบ
เรียนท่านอน 3 ท่า เรียนเล่ห์กลมายาหลายอย่าง
และการดื่มน้ำในเวลาเที่ยงคืน
เนื้อนั้น เมื่อหายใจทางจมูกข้างที่แนบติดอยู่กับพื้นดิน
ก็จะลวงนายพรานได้ด้วยอุบาย 6 ประการ1
ติปัลลัตถมิคชาดกที่ 6 จบ

7. มาลุตชาดก (17)
ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม
(ฤาษีโพธิสัตว์ถูกเสือและราชสีห์ถาม จึงกล่าวว่า)
[17] สมัยใดลมพัดมา สมัยนั้นจะเป็นข้างแรมก็ตาม
ข้างขึ้นก็ตาม ย่อมมีความหนาวอันเกิดแต่ลม
ในปัญหาข้อนี้ เธอทั้ง 2 จึงไม่มีใครเป็นผู้แพ้
มาลุตชาดกที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 อุบาย 6 ประการ คือ (1) นอนตะแคงข้างเหยียดเท้าทั้ง 4 (2) ใช้กีบเท้าคุ้ยหญ้าและฝุ่น (3) แลบลิ้น
ออกให้น้อยลง (4) ทำให้ท้องพองนูน (5) ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ (6) กลั้นลมหายใจเข้าออกไว้
เมื่อนายพรานเห็นเข้าใจว่าตายแล้วจะแก้บ่วงออก เนื้อก็จะรีบหนีไป (ขุ.ชา.อ. 1/16/229)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :7 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 2. สีลวรรค 10.นฬปานชาดก (20)
8. มตกภัตตชาดก (18)
ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนว่า)
[18] ถ้าเหล่าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า
การเกิดและสมภพ1นี้เป็นทุกข์
สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
มตกภัตตชาดกที่ 8 จบ

9. อายาจิตภัตตชาดก (19)
ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำพลีกรรม
(รุกขเทวดาอยู่ที่ค่าคบต้นไม้กล่าวกับกุฎุมพีผู้ฆ่าสัตว์แก้บนว่า)
[19] ถ้าท่านต้องการจะเปลื้องตนให้หลุดพ้น
จงเปลื้องตนให้หลุดพ้นโดยวิธีที่จะไม่ติดแน่นเถิด
เมื่อท่านเปลื้องตนอย่างนี้ ชื่อว่ายังติดแน่นอยู่
เพราะนักปราชญ์ไม่เปลื้องตนให้หลุดพ้นด้วยวิธีอย่างนี้
การเปลื้องตนให้หลุดพ้นอย่างนี้ กลับเป็นการผูกมัดคนพาล
อายาจิตภัตตชาดกที่ 9 จบ

10. นฬปานชาดก (20)
ว่าด้วยอุบายดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ
(พระศาสดาทรงทราบความที่พระโพธิสัตว์กับรากษสโต้ตอบกัน จึงได้ตรัสพระ
คาถานี้ว่า)

เชิงอรรถ :
1 สมภพ ในที่นี้หมายถึงความเจริญโดยลำดับแห่งสัตว์ผู้บังเกิดแล้ว (ขุ.ชา.อ. 1/18/235)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :8 }