เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 2. สีลวรรค 5.ขราทิยชาดก (15)
[12] ลูกหรือผู้อื่นควรคบหาเนื้อชื่อนิโครธเท่านั้น
ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อชื่อสาขะ
การตายในสำนักของเนื้อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า
การมีชีวิตในสำนักของเนื้อชื่อสาขะจะประเสริฐอะไร
นิโครธมิคชาดกที่ 2 จบ

3. กัณฑิชาดก (13)
ว่าด้วยเรื่องที่น่าตำหนิคนมีลูกศรเป็นอาวุธเป็นต้น
(เทวดาโพธิสัตว์ตำหนิเรื่องที่ควรตำหนิ 3 อย่าง จึงกล่าวว่า)
[13] น่าตำหนิ คนที่มีลูกศรเป็นอาวุธ ยิงไปเต็มกำลัง
น่าตำหนิ ชนบทที่มีสตรีเป็นผู้นำ
อนึ่ง แม้ชายผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ก็น่าตำหนิ
กัณฑิชาดกที่ 3 จบ

4. วาตมิคชาดก (14)
ว่าด้วยเนื้อสมัน
(พระราชาทรงดำริว่า สภาวะที่เลวกว่าความอยากในรสไม่มี จึงตรัสว่า)
[14] ได้ยินว่า สภาวะอย่างอื่นที่จะเลวยิ่งกว่ารสทั้งหลายไม่มี
รสเป็นสภาวะที่เลวกว่าที่อยู่อาศัย กว่าความสนิทสนม
คนเฝ้าสวนชื่อสัญชัยนำเนื้อสมันที่อาศัยอยู่ในป่าทึบ
มาสู่อำนาจได้ก็เพราะรส
วาตมิคชาดกที่ 4 จบ

5. ขราทิยชาดก (15)
ว่าด้วยลูกของแม่เนื้อที่ชื่อขราทิยา
(พญาเนื้อโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาจะสอนลูกของน้องสาว จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :6 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 2. สีลวรรค 7. มาลุตชาดก (17)
[15] แม่ขราทิยา เราไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อ
ที่มีกีบเท้า 8 กีบ มีเขาคดตั้งแต่โคนจรดปลาย
ที่ละเลยโอวาทตลอด 7 วันตัวนั้นได้
ขราทิยชาดกที่ 5 จบ

6. ติปัลลัตถมิคชาดก (16)
ว่าด้วยเนื้อลวงนายพรานด้วยการนอน 3 ท่า
(พญาเนื้อโพธิสัตว์กล่าวแก่น้องสาวว่า)
[16] น้องหญิง พี่ให้เนื้อ(หลานชาย)ที่มีกีบเท้า 8 กีบ
เรียนท่านอน 3 ท่า เรียนเล่ห์กลมายาหลายอย่าง
และการดื่มน้ำในเวลาเที่ยงคืน
เนื้อนั้น เมื่อหายใจทางจมูกข้างที่แนบติดอยู่กับพื้นดิน
ก็จะลวงนายพรานได้ด้วยอุบาย 6 ประการ1
ติปัลลัตถมิคชาดกที่ 6 จบ

7. มาลุตชาดก (17)
ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม
(ฤาษีโพธิสัตว์ถูกเสือและราชสีห์ถาม จึงกล่าวว่า)
[17] สมัยใดลมพัดมา สมัยนั้นจะเป็นข้างแรมก็ตาม
ข้างขึ้นก็ตาม ย่อมมีความหนาวอันเกิดแต่ลม
ในปัญหาข้อนี้ เธอทั้ง 2 จึงไม่มีใครเป็นผู้แพ้
มาลุตชาดกที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 อุบาย 6 ประการ คือ (1) นอนตะแคงข้างเหยียดเท้าทั้ง 4 (2) ใช้กีบเท้าคุ้ยหญ้าและฝุ่น (3) แลบลิ้น
ออกให้น้อยลง (4) ทำให้ท้องพองนูน (5) ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ (6) กลั้นลมหายใจเข้าออกไว้
เมื่อนายพรานเห็นเข้าใจว่าตายแล้วจะแก้บ่วงออก เนื้อก็จะรีบหนีไป (ขุ.ชา.อ. 1/16/229)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :7 }