เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 13. กุสนาฬิวรรค 5. กฏาหกชาดก (125)
[123] คนโง่กล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
ในเหตุการณ์ทุกอย่าง ในที่ทุกสถาน
เขาไม่รู้จักนมส้มและงอนไถ
สำคัญนมส้มและนมสดว่าเหมือนงอนไถ
นังคลีสชาดกที่ 3 จบ

4. อัมพชาดก (124)
ว่าด้วยดาบสฉันมะม่วง
(ฤๅษีโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุที่ดาบส 500 อาศัยดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรเป็นอยู่
จึงกล่าวว่า)
[124] คนฉลาดควรพยายามร่ำไป
ไม่ควรเบื่อหน่าย
ท่านจงดูผลแห่งความพยายาม
ผลไม้มีมะม่วงเป็นต้นที่พวกฤาษีได้ฉัน
โดยมิได้ออกปากเนือง ๆ
อัมพชาดกที่ 4 จบ

5. กฏาหกชาดก (125)
ว่าด้วยทาสชื่อกฏาหกะ
(ธิดาเศรษฐีกล่าวคาถานี้โดยทำนองที่เรียนมาในสำนักพระโพธิสัตว์ว่า)
[125] บุคคลไปยังชนบทอื่นแล้ว
กล่าวข่มขู่โอ้อวดไว้มากมาย
เจ้ากฏาหกะ นายของเจ้าจะติดตามมาประทุษร้าย
เจ้าจงใช้สอยสมบัติเถิด
กฏาหกชาดกที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :51 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 13. กุสนาฬิวรรค 8. พิฬารวตชาดก (128)
6. อสิลักขณชาดก (126)
ว่าด้วยผู้รู้ลักษณะดาบ
(พระราชาทรงพระสรวลต่อพราหมณ์ ได้ตรัสบอกเหตุที่พระองค์ทรงจามแล้ว
ได้พระราชธิดาและได้ราชสมบัติว่า)
[126] เหตุการณ์อย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละเป็นผลดีแก่คนหนึ่ง
แต่กลับเป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น เหตุการณ์อย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละ
มิใช่จะเป็นผลดีไปทั้งหมด หรือมิใช่จะเป็นผลร้ายไปทั้งหมด
อสิลักขณชาดกที่ 6 จบ

7. กลัณฑุกชาดก (127)
ว่าด้วยชาติกำเนิดของนายกลัณฑุกะ
(ลูกนกแขกเต้าโพธิสัตว์กล่าวเตือนทาสกลัณฑุกะว่า)
[127] เราเที่ยวอยู่ในป่ายังรู้ชาติกำเนิดของเจ้าได้
นายของเจ้าทราบแน่ชัดแล้วต้องจับเจ้าไป
เจ้ากลัณฑุกะ เจ้าจงดื่มนมสดเสียเถิด
กลัณฑุกชาดกที่ 7 จบ

8. พิฬารวตชาดก (128)
ว่าด้วยวัตรของแมว
(พญาหนูโพธิสัตว์กล่าวตำหนิสุนัขจิ้งจอกว่า)
[128] ผู้ใดกล่าวเชิดชูธรรมให้เป็นธงชัย
ล่อลวงให้เหล่าสัตว์ตายใจแล้วซ่อนตนประพฤติชั่ว
ความประพฤติของผู้นั้นชื่อว่าเป็นความประพฤติของแมว
พิฬารวตชาดกที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :52 }