เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 13. กุสนาฬิวรรค 3. นังคลีสชาดก (123)
13. กุสนาฬิวรรค
หมวดว่าด้วยกอหญ้า
1. กุสนาฬิชาดก (121)
ว่าด้วยเทวดาที่ต้นรุจาผูกมิตรกับเทวดาที่กอหญ้า
(รุกขเทวดาสรรเสริญมิตตธรรมของพระโพธิสัตว์ว่า)
[121] บุคคลเสมอกัน ประเสริฐกว่ากัน
หรือเลวกว่ากันก็ตาม ก็ควรทำมิตรไมตรีกันไว้
เพราะว่า มิตรเหล่านั้นเมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น
ก็พึงทำประโยชน์อันอุดมให้ได้
เหมือนเราผู้เป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ต้นรุจา
กับเทวดาผู้สถิตอยู่ที่กอหญ้าทำมิตรไมตรีกัน
กุสนาฬิชาดกที่ 1 จบ

2. ทุมเมธชาดก (122)
ว่าด้วยคนมีปัญญาทราม
(นายควาญช้างกราบทูลพระราชาว่า)
[122] คนมีปัญญาทรามได้ยศแล้ว
ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
ปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ทุมเมธชาดกที่ 2 จบ

3. นังคลีสชาดก (123)
ว่าด้วยคนโง่สำคัญนมส้มว่าเหมือนงอนไถ
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์คิดถึงเหตุที่ไม่อาจให้คนมีปัญญาอ่อนศึกษาได้ จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :50 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 13. กุสนาฬิวรรค 5. กฏาหกชาดก (125)
[123] คนโง่กล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
ในเหตุการณ์ทุกอย่าง ในที่ทุกสถาน
เขาไม่รู้จักนมส้มและงอนไถ
สำคัญนมส้มและนมสดว่าเหมือนงอนไถ
นังคลีสชาดกที่ 3 จบ

4. อัมพชาดก (124)
ว่าด้วยดาบสฉันมะม่วง
(ฤๅษีโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุที่ดาบส 500 อาศัยดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรเป็นอยู่
จึงกล่าวว่า)
[124] คนฉลาดควรพยายามร่ำไป
ไม่ควรเบื่อหน่าย
ท่านจงดูผลแห่งความพยายาม
ผลไม้มีมะม่วงเป็นต้นที่พวกฤาษีได้ฉัน
โดยมิได้ออกปากเนือง ๆ
อัมพชาดกที่ 4 จบ

5. กฏาหกชาดก (125)
ว่าด้วยทาสชื่อกฏาหกะ
(ธิดาเศรษฐีกล่าวคาถานี้โดยทำนองที่เรียนมาในสำนักพระโพธิสัตว์ว่า)
[125] บุคคลไปยังชนบทอื่นแล้ว
กล่าวข่มขู่โอ้อวดไว้มากมาย
เจ้ากฏาหกะ นายของเจ้าจะติดตามมาประทุษร้าย
เจ้าจงใช้สอยสมบัติเถิด
กฏาหกชาดกที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :51 }