เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [14. ปกิณณกนิบาต] 4. อุททาลกชาดก (487)
[58] บัณฑิตนั้นได้มิตรสหายแล้วย่อมป้องกันลูก
ปศุสัตว์ หรือทรัพย์ไว้ได้
ข้าพเจ้า ลูก ๆ และสามีของข้าพเจ้อยู่พร้อมหน้ากัน
เพราะความช่วยเหลือของมิตรทั้งหลาย
[59] อันบุคคลผู้มีเจ้านายและเพื่อนผู้กล้าหาญอาจจะได้รับประโยชน์
สำหรับผู้ที่มีเพื่อนพรั่งพร้อมก็จะมีเพื่อนร่วมงานเช่นนี้
เขาก็จะมีมิตร มียศ มีความรุ่งเรือง บันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ นะพี่ที่รัก
[60] พี่เสนกะ ควรจะผูกมิตรแม้กับคนยากจน ดูเถิด
พวกเรามาพร้อมเพรียงกับหมู่ญาติได้เพราะความช่วยเหลือของมิตร
[61] นกตัวใดผูกมิตรไว้กับมิตรผู้กล้าหาญและมิตรผู้มีกำลัง
นกตัวนั้นย่อมมีความสุขเหมือนอย่างฉันและท่าน นะพี่เสนกะ
มหาอุกกุสชาดกที่ 3 จบ

4. อุททาลกชาดก (487)
ว่าด้วยอุททาลกดาบส
(พระราชาทรงสนทนากับปุโรหิตว่า)
[62] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ
มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก สาธยายมนต์อยู่
ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์
จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ
(ปุโรหิตกราบทูลว่า)
[63] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็นพหูสูต
กระทำแต่กรรมชั่ว ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม
เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม1 ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้

เชิงอรรถ :
1 จรณธรรม ในที่นี้ ได้แก่ สมาบัติ 8 (ขุ.ชา.อ. 6/63/254)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :432 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [14. ปกิณณกนิบาต] 4. อุททาลกชาดก (487)
(อุททาลกดาบสกล่าวกับปุโรหิตว่า)
[64] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้
อาตมาเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็นสิ่งที่ไร้ผล
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ
(ปุโรหิตกล่าวว่า)
[65] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ
เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ
(อุททาลกดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[66] มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ทั้งหลายที่บุคคลจะต้องเลี้ยงดู
บุตรเกิดแต่ผู้ใด เขาก็คือผู้นั้นนั่นเอง
อาตมาชื่อว่าอุททาลกะ เป็นวงศ์แห่งโสตถิยสกุลของท่าน
(พราหมณ์ถามถึงธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า)
[67] ท่านผู้เจริญ คนจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร
จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร
ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร
และคนผู้ทรงธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร
(อุททาลกดาบสตอบว่า)
[68] เพราะก่อไฟบูชาอยู่เนือง ๆ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์
บุคคลเมื่อรดน้ำบูชายัญและให้ยกเสาบูชายัญ
จึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์เต็มตัว
พราหมณ์ผู้บำเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้เกษม
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกว่าผู้ดำรงอยู่ในธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :433 }