เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [12. ทวาทสกนิบาต] 6. มหากัณหชาดก (469)
(พระราชาทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ว่า)
[48] มาณพคนนี้เป็นผู้เจริญหนอ
เป็นนักปราชญ์ รู้แจ้งโลกทั้งปวง
เป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหาอันให้เกิดทุกข์ได้
กามชาดกที่ 4 จบ

5. ชนสันธชาดก (468)
ว่าด้วยพระเจ้าชนสันธะ
(พระศาสดาตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[49] ได้ยินมาว่า พระเจ้าชนสันธะตรัสไว้อย่างนี้ว่า
เหตุ 10 ประการที่บุคคลไม่ได้ทำไว้ก่อน
เขาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
[50] บุคคลไม่ได้ทรัพย์ซึ่งตนมิได้สะสมไว้ย่อมเดือดร้อน
เขาย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เรามิได้แสวงหาทรัพย์ไว้ก่อน
[51] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เพราะเราไม่ได้ศึกษาศิลปะที่มีอยู่ก่อน ซึ่งอาจจะศึกษาได้
คนที่ไม่มีศิลปะก็หากินลำบาก
[52] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเราเป็นคนโกง เป็นคนชอบส่อเสียด
ปลิ้นปล้อน ดุร้าย และหยาบคาย
[53] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเราเป็นคนชอบฆ่าสัตว์ โหดร้าย ป่าเถื่อน
ไม่ยอมนอบน้อมต่อคนทั้งหลาย
[54] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อหญิงทั้งหลายที่ไม่มีคู่ครองมีอยู่เป็นจำนวนมาก
เราก็ชอบเป็นชู้กับเมียคนอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :382 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [12. ทวาทสกนิบาต] 6. มหากัณหชาดก (469)
[55] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อข้าวและน้ำปรากฏมีอยู่เป็นอันมาก
แต่เราก็ไม่ได้ให้ทานมาก่อน
[56] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
พ่อและแม่ผู้แก่เฒ่าชราพ้นวัยหนุ่มสาวไปแล้ว
เราสามารถจะเลี้ยงดูได้ แต่ก็หาได้เลี้ยงดูไม่
[57] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
บิดาผู้เป็นอาจารย์ตามพร่ำสอน
นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู
เราก็ดูหมิ่นเสีย
[58] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
สมณะและพราหมณ์ผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
เราก็มิได้เคยคบหามาก่อน
[59] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
ตบะที่บำเพ็ญแล้ว สัตบุรุษที่คนเข้าไปคบหาแล้วย่อมเป็นความดี
แต่เราหาได้บำเพ็ญตบะและคบหาสัตบุรุษมาก่อนไม่
[60] ก็เหตุ 10 ประการเหล่านี้ผู้ใดได้ปฏิบัติโดยถูกต้อง
ผู้นั้นชื่อว่าทำหน้าที่ของคน ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
ชนสันธชาดกที่ 5 จบ

6. มหากัณหชาดก (469)
ว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน
(พระราชาตรัสถามท้าวสักกะว่า)
[61] สุนัขของท่านทั้งดำทั้งดุ แยกเขี้ยวขาววาววาม
ล่ามด้วยเชือก 5 เส้น มันร้องทำไม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :383 }