เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 9. อปายิมหวรรค 7. มังคลชาดก (87)
6. สีลวีมังสกชาดก (86)
ว่าด้วยการพิจารณาอานิสงส์ของศีล
(พระโพธิสัตว์ครั้งเสวยพระชาติเป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต สรรเสริญศีล
ว่า)
[86] ได้ยินว่า ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม
ศีลเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก
ดูเถิด นาคที่มีพิษร้ายแรงยังไม่เบียดเบียนใคร ๆ
เพราะสำนึกอยู่ว่า ตนมีศีล
สีลวีมังสกชาดกที่ 6 จบ

7. มังคลชาดก (87)
ว่าด้วยการถอนมงคล
(พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ว่า)
[87] ผู้ใดถอนทิฏฐิเรื่องมงคล
อุบาต1 ความฝันและลักษณะได้แล้ว
ผู้นั้นล่วงพ้น
สิ่งอันเป็นมงคลและโทษทั้งปวง
ครอบงำกิเลสเป็นคู่ ๆ2 และโยคะทั้ง 2 ประการได้แล้ว
ไม่กลับมาเกิดอีก
มังคลชาดกที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 อุบาต ในที่นี้ หมายถึงมหาอุบาต 5 ประการ คือ (1) จันทคราส (ราหูอมพระจันทร์) (2) สุริยคราส
(ราหูอมพระอาทิตย์) (3) นักษัตรคราส (ราหูอมกลุ่มดาวหรือดวงชะตา) (4) อุกกาบาต (5) ราหู
จับลำขาว(ทางช้างเผือก)ในท้องฟ้า (ขุ.ชา.อ. 2/87/181)
2 กิเลสเป็นคู่ ๆ เช่น ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอเป็นต้น (ขุ.ชา.อ. 2/87/182)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :36 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 9. อปายิมหวรรค 10. อกตัญญุชาดก (90)
8. สารัมภชาดก (88)
ว่าด้วยโคชื่อสารัมภะ
(พระศาสดาตรัสสารัมภชาดกแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[88] บุคคลควรพูดคำที่ดีงามเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ชั่วหยาบเลย
การพูดคำที่ดีงามเป็นการดี
บุคคลย่อมเดือดร้อนเพราะพูดคำชั่วหยาบ
สารัมภชาดกที่ 8 จบ

9. กุหกชาดก (89)
ว่าด้วยดาบสโกหก
(พระโพธิสัตว์ติเตียนดาบสโกหกว่า)
[89] ถ้อยคำของท่านช่างไพเราะอ่อนหวานเสียนี่กระไร
ท่านรังเกียจกระทั่งหญ้าเส้นเดียว
แต่เมื่อขโมยทองคำไปตั้ง 100 แท่ง กลับไม่รังเกียจเลย
กุหกชาดกที่ 9 จบ

10. อกตัญุชาดก (90)
ว่าด้วยคนอกตัญู
(เศรษฐีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทว่า)
[90] ผู้ใดไม่รู้จักคุณความดีและประโยชน์ที่ผู้อื่นกระทำไว้ก่อน
ผู้นั้นเมื่อกิจการงานเกิดขึ้นในภายหลังย่อมหาผู้ช่วยเหลือไม่ได้
อกตัญุชาดกที่ 10 จบ
อปายิมหวรรคที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :37 }