เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [10. ทสกนิบาต] 14. ภูริปัญญชาดก (452)
[147] อนึ่ง เรารู้เวลาที่จะทำความเพียร
และเพิ่มพูนประโยชน์ด้วยปัญญาทั้งหลาย
เยื้องย่างอย่างการเยื้องกรายแห่งราชสีห์
แม้ต่อไปท่านก็จะเห็นเราด้วยความสำเร็จอันนั้น
(พระราชาเมื่อจะทรงทดลองบัณฑิต จึงตรัสว่า)
[148] ก็คนพวกหนึ่งแม้มีความสุขก็ไม่ทำความชั่ว
คนอีกพวกหนึ่งเพราะกลัวการเกี่ยวข้อง
กับการถูกติเตียนจึงไม่ทำความชั่ว
ส่วนท่านเป็นผู้มีความคิดกว้างขวางมาก
เพราะเหตุไร จึงไม่ก่อทุกข์ให้แก่เรา
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[149] ธรรมดาบัณฑิตไม่ประพฤติกรรมชั่วเพราะเหตุความสุขแห่งตน
แม้ถูกความทุกข์กระทบถูกต้องพลั้งพลาดไป ก็สงบอยู่ได้
ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรักและความชัง
(พระราชาตรัสมายากษัตริย์ว่า)
[150] บุคคลพึงยกตนที่ต่ำช้าขึ้นด้วยเหตุเล็กน้อยหรือรุนแรง
อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ภายหลังพึงประพฤติธรรม
(พระโพธิสัตว์แสดงอุปมาด้วยต้นไม้ว่า)
[151] บุคคลนั่งก็ตาม นอนก็ตามที่ร่มเงาต้นไม้ใด
ไม่ควรหักรานกิ่งต้นไม้นั้น
เพราะว่าคนประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม
[152] คนผู้รู้แจ้งธรรมแต่สำนักอาจารย์ใด
อนึ่ง การที่สัตบุรุษทั้งหลายกำจัดความสงสัยของคนผู้นั้นได้
นั่นแหละนับว่าเป็นที่พึ่ง ที่พำนักของเขา
คนผู้มีปัญญาไม่พึงทำลายไมตรีกับอาจารย์นั้นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :347 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [10. ทสกนิบาต] 15. มหามังคลชาดก (453)
(พระโพธิสัตว์อนุศาสน์พระราชาว่า)
[153] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี
การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี
[154] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน
ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
ภูริปัญญชาดกที่ 14 จบ

15. มหามังคลชาดก (453)
ว่าด้วยมหามงคล
(ศิษย์ผู้เป็นหัวหน้าถามอาจารย์ว่า)
[155] ในเวลาต้องการความเป็นมงคล นรชนร่ายพระเวทอะไร
นรชนนั้นเรียนพระเวทอะไร
หรือบรรดาสุตะ เรียนสุตะบทไหน
และกระทำอย่างไร จึงได้รับความคุ้มครองโดยสวัสดิภาพ
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
(พระโพธิสัตว์บอกมงคลว่า)
[156] เทวดาและเทพบิดรทั้งปวง
สัตว์เลื้อยคลานและสรรพสัตว์ทั้งปวง
อันผู้ใดแผ่เมตตาอยู่เป็นนิตย์
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการแผ่เมตตานั้นในสัตว์ทั้งหลายว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :348 }