เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [6. ฉักกนิบาต] 1. อวาริยวรรค 9. ธัมมัทธชชาดก (384)
[55] บุคคลใดไร้ปัญญา ได้สิริที่น่าใคร่แล้ว
ลืมคุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาคุณความดีที่ได้กล่าวแล้วเหล่านั้น
ดิฉันเว้นบุคคลนั้นซึ่งมีสภาพร้อนรน
ประพฤติไม่เสมอต้นเสมอปลาย
เหมือนคนที่มีนิสัยรักความสะอาดเว้นห่างไกลหลุมคูถ
[56] บุคคลย่อมสร้างความมีโชคด้วยตนเอง
ย่อมสร้างความไม่มีโชคด้วยตนเอง
คนอื่นจะทำความมีโชคและความไม่มีโชคให้คนอื่นหาได้ไม่
สิริกาฬกัณณิชาดกที่ 7 จบ

8. กุกกุฏชาดก (383)
ว่าด้วยไก่โพธิสัตว์
(นางแมวไปยังโคนต้นไม้ที่ไก่เกาะอยู่แล้วอ้อนวอนว่า)
[57] พ่อไก่หงอนแดงผู้มีขนปีกงดงาม ท่านจงลงมาจากกิ่งไม้เถิด
ฉันจะยอมเป็นภรรยาของท่านโดยไม่คิดมูลค่า
(ไก่โพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[58] แม่นางแมวรูปงาม เธอเป็นสัตว์สี่เท้า
ส่วนฉันเป็นสัตว์สองเท้า
แมวตัวเมียกับไก่ตัวผู้ไม่ควรจะรื่นรมย์ยินดีกันฉันสามีภรรยา
เธอจงหาสามีอื่นเถิด
(แมวได้ฟังดังนั้นคิดหาอุบายใหม่กล่าวว่า)
[59] ฉันจะเป็นภรรยาสาวของท่านที่พูดจาอ่อนหวาน น่ารัก
ขอท่านจงรับฉันผู้เลอโฉม ผู้เป็นสาวพรหมจารีไว้
ด้วยการรับอันดีงามเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :238 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [6. ฉักกนิบาต] 1. อวาริยวรรค 9. ธัมมัทธชชาดก (384)
(ไก่โพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้วคิดจะขู่ไล่แมวให้หนีไป จึงกล่าวว่า)
[60] นางโจรผู้กินซากศพ ดื่มเลือด เจ้าเบียดเบียนไก่
ต้องการเราเป็นผัว ไม่ใช่ด้วยการได้อันดีงามหรอก
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า)
[61] หญิงผู้มีวาจาประกอบด้วยองค์ 4 เห็นชายมีทรัพย์
ก็ล่อลวงนำไปด้วยการพูดจาอ่อนหวาน
เหมือนนางแมวล่อลวงไก่
[62] อนึ่ง ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู
และจะเดือดร้อนในภายหลัง
[63] ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นย่อมพ้นจากความคับขันอันเกิดจากศัตรู
เหมือนไก่พ้นจากนางแมว
กุกกุฏชาดกที่ 8 จบ

9. ธัมมัทธชชาดก (384)
ว่าด้วยการมีธรรมเป็นธงชัย
(กาเรียกนกทั้งหลายมากล่าวว่า)
[64] พี่น้องทั้งหลาย พวกท่านจงประพฤติธรรมเถิด
จงประพฤติธรรมเถิด พวกท่านจะมีแต่ความเจริญ
เพราะว่าผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
(นกทั้งหลายเมื่อไม่รู้จึงพากันสรรเสริญกาทุศีลนั้นว่า)
[65] กานี้เจริญจริงหนอ ประพฤติธรรมได้ยอดเยี่ยม
ยืนด้วยขาข้างเดียวสอนธรรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :239 }