เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 6. อาสิงสวรรค 3. ปุณณปาติชาดก (53)
6. อาสิงสวรรค
หมวดว่าด้วยความหวัง
1. มหาสีลวชาดก (51)
ว่าด้วยพระเจ้ามหาสีลวะ
(พระเจ้าสีลวมหาราชทรงดำริถึงผลของความเพียร จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[51] เป็นคนต้องหวังร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ปรารถนาอย่างใดก็ได้อย่างนั้น
มหาสีลวชาดกที่ 1 จบ

2. จูฬชนกชาดก (52)
ว่าด้วยพระจูฬชนก
(พระมหาชนกทรงดำริถึงผลของความเพียร จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[52] เป็นคนต้องพยายามร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ถูกเขาช่วยให้ขึ้นจากน้ำมาบนบกได้
จูฬชนกชาดกที่ 2 จบ

3. ปุณณปาติชาดก (53)
ว่าด้วยการลวงด้วยสุราเต็มไห
(เศรษฐีโพธิสัตว์เมื่อจะทำลายความพอใจของพวกนักเลง จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[53] ไหเหล้ายังคงเต็มอยู่เช่นเดิม
การกล่าวยกย่องคงเป็นคำไม่จริง
เพราะอาการอย่างนี้ เราจึงรู้ว่า เหล้านี้ไม่ดีจริง
ปุณณปาติชาดกที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :22 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 6. อาสิงสวรรค 5. ปัญจาวุธชาดก (55)
4. ผลชาดก (54)
ว่าด้วยการรู้จักผลไม้
(พ่อค้าเกวียนโพธิสัตว์เล่าเรื่องที่ตนทราบว่าต้นไม้นั้นไม่ใช่ต้นมะม่วงด้วยเหตุ 2
ประการ จึงกล่าวว่า)
[54] ต้นไม้นี้คนขึ้นได้ไม่ยาก ทั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน
เพราะเหตุ 2 ประการนี้ เราจึงรู้ได้ว่า ต้นไม้นี้มีผลไม่ดี
ผลชาดกที่ 4 จบ

5. ปัญจาวุธชาดก (55)
ว่าด้วยพระกุมารผู้มีอาวุธ 5 อย่าง
(พระศาสดาทรงประมวลพระธรรมเทศนา1มาตรัสพระคาถานี้ว่า)
[55] นรชนใดมีจิตไม่ย่อท้อ มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ2
นรชนนั้นพึงบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์3ทั้งปวงได้โดยลำดับ
ปัญจาวุธชาดกที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ มี 37 ประการ คือ สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 (ขุ.ชา.อ. 2/55/52)
2 โยคะ หมายถึงสภาวะที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี 4 ประการ คือ
(1) กามโยคะ โยคะคือกาม (2) ภวโยคะ โยคะคือภพ
(3) ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ (4) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา
(ที.ปา. 11/354/246, องฺ.จตุกฺก.(แปล) 21/10/16)
3 สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ มี 10 ประการ คือ
(1) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน (2) วิจิกิจฉา ความสงสัย
(3) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและพรต (4) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(5) พยาบาท ความคิดร้าย (6) รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน
(7) อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน (8) มานะ ความถือตน
(9) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (10) อวิชชา ความไม่รู้จริง
(สํ.ม. 19/180-181/56-57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :23 }