เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [5. ปัญจกนิบาต] 1. มณิกุณฑลวรรค 4. อรุคชาดก (354)
[22] เขากำลังถูกเผา ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(น้องสาวบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[23] ถ้าข้าพเจ้าร้องไห้ ก็จะพึงมีร่างกายผ่ายผอม
จะมีผลอะไรแก่ข้าพเจ้าเล่า
ญาติ มิตร สหายของข้าพเจ้าจะไม่มีความพอใจอย่างยิ่ง
[24] พี่ชายของข้าพเจ้ากำลังถูกเผา
ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(ภรรยาบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[25] คนที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว เปรียบเสมือนทารกที่ร้องไห้
ต้องการดวงจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ
[26] สามีของข้าพเจ้ากำลังถูกเผา
ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(สาวใช้บอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[27] คนที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว เป็นสิ่งไร้ประโยชน์
เปรียบเสมือนหม้อน้ำที่แตกแล้วจะประสานให้สนิทเหมือนเดิมไม่ได้
[28] นายของข้าพเจ้ากำลังถูกเผา
ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
อุรคชาดกที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :203 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [5. ปัญจกนิบาต] 1. มณิกุณฑลวรรค 6. การันทิยชาดก (356)
5. ฆฏชาดก (355)
ว่าด้วยพระเจ้าฆฏะ
(พระเจ้าธังกะตรัสถามพระราชาโพธิสัตว์ว่า)
[29] ชนเหล่าอื่นเศร้าโศก ร้องไห้ มีน้ำตานองหน้า
ส่วนพระองค์มีพระพักตร์ผ่องใส
พระเจ้าฆฏะ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่เศร้าโศก
(พระโพธิสัตว์กราบทูลถึงเหตุที่ไม่เศร้าโศกแก่พระเจ้าธังกะว่า)
[30] ความโศกนำสิ่งที่ล่วงไปแล้วคืนมาไม่ได้
นำความสุขที่ยังไม่มาถึงมาให้ไม่ได้
พระเจ้าธังกะ เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก
เพราะความเป็นสหายในความเศร้าโศกไม่มี
[31] ผู้เศร้าโศกย่อมมีร่างกายผอมเหลืองและเบื่ออาหาร
เมื่อเขาถูกลูกศรคือความเศร้าโศกเสียบแทงจนซูบซีด
พวกศัตรูก็พากันดีใจ
[32] เราจะอยู่บ้านหรืออยู่ป่า
อยู่ที่ลุ่มหรืออยู่ที่ดอนก็ตาม
ความพินาศจะไม่มาถึงเราเลย
เพราะเราได้พบทางแล้วอย่างนี้
[33] ตนเองผู้เดียวเท่านั้นก็ไม่สามารถจะนำ
รสอันน่าใคร่ทั้งปวง1 มาถวายแก่พระราชาพระองค์ใดได้
แม้แผ่นดินทั้งปวงก็จักนำความสุขมาถวาย
แด่พระราชาพระองค์นั้นไม่ได้
ฆฏชาดกที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 รสอันน่าใคร่ทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงสุขในฌาน (ขุ.ชา.อ. 4/33/384)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :204 }