เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [5. ปัญจกนิบาต] 1. มณิกุณฑลวรรค 3. เวนสาขชาดก (353)
[11] ลูกนั้นได้บรรเทาความเศร้าโศกของพ่อผู้กำลังเศร้าโศกถึงปู่
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศก
ซึ่งเสียบที่หัวใจของพ่อขึ้นได้แล้วหนอ
[12] พ่อผู้อันลูกได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศกขึ้นได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความขุ่นมัว
จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของลูก ลูกเอ๋ย
[13] นรชนทั้งหลายผู้มีปัญญา จะเป็นผู้อนุเคราะห์
ย่อมกระทำให้ผู้อื่นปราศจากความเศร้าโศก
เหมือนสุชาตกุมารทำให้บิดาปราศจากความเศร้าโศก
สุชาตชาดกที่ 2 จบ

3. เวนสาขชาดก (353)
ว่าด้วยต้นไม้ป้องกันภัยไม่ได้
(พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์กล่าวสอนพรหมทัตตกุมารว่า)
[14] พรหมทัตตกุมาร ความเกษมสำราญ ภิกษาที่หาได้ง่าย
ความสุขสำราญกาย ทั้งหมดนี้ไม่มีตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อประโยชน์สิ้นไป ท่านอย่าได้หลงลืม
เหมือนคนเรือแตกท่ามกลางสาครเลย
[15] คนทำกรรมใดไว้ย่อมเห็นกรรมนั้นในตน
คนทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี
คนทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
(พรหมทัตตกุมารนั้นกำหนดคำของพระโพธิสัตว์ได้แล้ว บ่นเพ้ออยู่ว่า)
[16] ท่านอาจารย์ปาราสริยะได้กล่าวคำใดไว้ว่า
ท่านอย่าได้ทำความชั่วที่ทำแล้วจะทำตนให้เดือดร้อนในภายหลัง
คำนี้เป็นคำของอาจารย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :201 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [5. ปัญจกนิบาต] 1. มณิกุณฑลวรรค 4. อรุคชาดก (354)
[17] ปิงคิยะ เราได้สำเร็จโทษกษัตริย์ 1,000 พระองค์
ผู้ประดับพระวรกาย ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์ที่ต้นไม้ใด
ต้นไม้นั้นมีกิ่งก้านสาขาแผ่ไพศาลคือต้นนี้เอง
ทุกข์นั้นนั่นแหละก็กลับมาสนองเรา
(ต่อมาพรหมทัตตกุมารทรงคร่ำครวญอยู่อย่างนั้น หวนระลึกถึงพระอัครมเหสี
จึงกล่าวว่า)
[18] พระนางสามาผู้มีพระวรกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
งามระหงดั่งกิ่งไผ่ที่แกว่งไกวไปมา
เราไม่เห็นพระมเหสีจักตาย
การไม่ได้เห็นพระมเหสีของเรานั้น
จักเป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์คือความตายนี้
เวนสาขชาดกที่ 3 จบ

4. อุรคชาดก (354)
ว่าด้วยคนตายเหมือนงูลอกคราบ
(พราหมณ์โพธิสัตว์บอกเหตุแห่งการไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[19] บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไป เหมือนงูลอกคราบเก่า
เมื่อร่างกายใช้การไม่ได้ จึงละไปตายไปอย่างนี้
[20] เขาถูกเผาก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของหมู่ญาติ
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(นางพราหมณีบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[21] บุตรของข้าพเจ้านี้ ข้าพเจ้าไม่ได้เชิญมาจากโลกอื่น เขาก็มา
ข้าพเจ้ามิได้อนุญาต ก็ไปจากโลกนี้
เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น
จะคร่ำครวญไปทำไมเพราะการไปของเขานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :202 }