เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 5. จูฬกุณาลวรรค 6. เกสวชาดก (346)
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[172] มิตรภาพของผู้ประทุษร้ายและของผู้ถูกประทุษร้าย
พวกที่เป็นนักปราชญ์ย่อมสมานกันได้อีก
แต่พวกที่โง่เขลาย่อมสมานกันไม่ได้
แม่นกกระเรียน เธอจงอยู่เถิด อย่าไปเลย
กุนตินีชาดกที่ 3 จบ

4. อัมพชาดก (344)
ว่าด้วยพระขรัวตาเฝ้าสวนมะม่วง
(ลูกสาวเศรษฐีคนที่ 1 กล่าวคำสาบานแก่ชฏิลโกงว่า)
[173] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
ขอหญิงนั้นจงตกอยู่ในอำนาจของชายที่ย้อมผมให้ดำ
และลำบากด้วยการใช้แหนบ(ถอนผมหงอกที่งอกแซมขึ้นมา)
(ลูกสาวเศรษฐีคนที่ 2 กล่าวคำสาบานแก่ชฏิลโกงว่า)
[174] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
หญิงนั้นถึงจะมีอายุตั้ง 20 ปี 25 ปี
หรือยังไม่ถึง 30 ปี ก็ขออย่าหาผัวได้เลย
(ต่อจากนั้น ลูกสาวเศรษฐีคนที่ 3 กล่าวคำสาบานว่า)
[175] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
ขอหญิงนั้นถึงจะกระเสือกกระสนเดินทางอันยาวไกลเพียงคนเดียว
ก็อย่าได้พบผัวแม้ในสถานที่ที่ได้นัดหมายกันไว้เลย
(ต่อจากนั้น ลูกสาวเศรษฐีคนที่ 4 จึงกล่าวคำสาบานบ้างว่า)
[176] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
ขอหญิงนั้นถึงจะมีที่อยู่อันสะอาด ตกแต่งร่างกายสวยงาม
ประดับประดาด้วยระเบียบดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์
ก็จงนอนอยู่บนที่นอนเพียงคนเดียวเถิด
อัมพชาดกที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :192 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 5. จูฬกุณาลวรรค 6. เกสวชาดก (346)
5. คชกุมภชาดก (345)
ว่าด้วยสัตว์เลื้อยคลานชื่อคชกุมภะ
(อำมาตย์แก้วโพธิสัตว์กล่าวกับตัวคชกุมภะว่า)
[177] เจ้าตัวโยกเยก1 เจ้ามีความเชื่องช้าอย่างนี้
คราวเมื่อไฟป่าไหม้ป่า เจ้าจะทำอย่างไร
(ตัวคชกุมภะได้ฟังดังนั้น จึงตอบว่า)
[178] โพรงไม้และรอยแตกระแหงของแผ่นดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ถ้าพวกข้าพเจ้าหนีเข้าไปไม่ทัน พวกข้าพเจ้าก็ตาย
(อำมาตย์โพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[179] ผู้ใดในคราวที่ควรทำช้า ๆ กลับทำงานอย่างเร็วพลัน
ในคราวที่ควรทำอย่างรีบด่วน กลับทำอย่างเชื่องช้า
ผู้นั้นย่อมหักราญประโยชน์ของตนเอง
เหมือนคนแข็งแรงเหยียบใบตาลแห้ง
[180] ผู้ใดในคราวที่ควรทำช้า ๆ ก็ค่อย ๆ ทำงานอย่างช้า ๆ
ในคราวที่ควรทำรีบด่วน ก็รีบทำอย่างเร็วพลัน
ประโยชน์ของผู้นั้นก็บริบูรณ์
เหมือนดวงจันทร์กำจัดความมืด ยังราตรีให้สว่างอยู่
คชกุมภชาดกที่ 5 จบ

6. เกสวชาดก (346)
ว่าด้วยเกสวดาบส
(นารทอำมาตย์กล่าวกับเกสวดาบสว่า)

เชิงอรรถ :
1 เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระพองช้าง เมื่อจะเดินต้องโยกตัวก่อน หรือโยกตัวอยู่บ่อย ๆ จึงเรียก
ตัวโยกเยก (ขุ.ชา.อ. 4/177/351)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :193 }