เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 5. อัตถกามวรรค 6. อารามทูสกชาดก (46)
4. มกสชาดก (44)
ว่าด้วยลูกชายโง่ฆ่ายุง
(พ่อค้าโพธิสัตว์เห็นการกระทำของช่างไม้ผู้โง่เขลา จึงกล่าวว่า)
[44] มีศัตรูผู้มีความรู้ยังประเสริฐกว่า
ส่วนมิตรผู้ไร้ปัญญาไม่ประเสริฐเลย
เพราะว่าลูกชายผู้โง่เขลาคิดว่า เราจักฆ่ายุง
ได้ทุบหัวของพ่อเสียแล้ว
มกสชาดกที่ 4 จบ

5. โรหิณีชาดก (45)
ว่าด้วยนางโรหิณี
(พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องที่สาวใช้ซี่งมารดาใช้ให้ไล่แมลงวันกลับใช้สากตีมารดา
จนสิ้นชีวิต จึงกล่าวว่า)
[45] มีศัตรูผู้มีปัญญายังดีกว่ามีคนอนุเคราะห์ที่โง่
เธอจงดูนางโรหิณีชาติชั่ว ฆ่าแม่แล้วเศร้าโศกอยู่
โรหิณีชาดกที่ 5 จบ

6. อารามทูสกชาดก (46)
ว่าด้วยลิงทำลายสวน
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้ฟังคำของลิง จึงกล่าวว่า)
[46] ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์
ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาได้เลย
คนมีปัญญาทรามทำประโยชน์ให้เสียหาย เหมือนลิงเฝ้าสวน
อารามทูสกชาดกที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :19 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 5. อัตถกามวรรค 9. นักขัตตชาดก (49)
7. วารุณิทูสกชาดก (47)
ว่าด้วยผู้มีปัญญาทรามทำสุราให้เสีย
(พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องคนโง่ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงกล่าวว่า)
[47] ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์
ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาได้เลย
คนมีปัญญาทรามย่อมทำประโยชน์ให้เสียหาย
เหมือนนายโกณฑัญญะทำสุราให้เสีย
วารุณิทูสกชาดกที่ 7 จบ

8. เวทัพพชาดก (48)
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อเวทัพพะ
(พระโพธิสัตว์คิดถึงเรื่องคนที่ปรารถนาความเจริญโดยวิธีที่ไม่สมควร ได้ประสบ
ความพินาศใหญ่หลวง จึงกล่าวว่า)
[48] ผู้ใดปรารถนาประโยชน์โดยอุบายอันไม่แยบยล
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน เหมือนโจรชาวแคว้นเจตะ
ฆ่าเวทัพพพราหมณ์แล้วถึงความพินาศทั้งหมด
เวทัพพชาดกที่ 8 จบ

9. นักขัตตชาดก (49)
ว่าด้วยการถือฤกษ์ถือยาม
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเห็นชาวพระนครทะเลาะกันเรื่องฤกษ์ จึงกล่าวว่า)
[49] ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลาที่มัวรอคอยฤกษ์ยามอยู่
ประโยชน์นั่นแหละเป็นฤกษ์ของประโยชน์
ดวงดาวทั้งหลายจักทำอะไรได้
นักขัตตชาดกที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :20 }