เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 4. โกกิลวรรค 1. โกกิลชาดก (331)
[119] คนที่ไม่มีความหวังย่อมหลับสบาย
ความหวังที่ได้ผลสมหวังเป็นความสุข
นางปิงคลาทำความหวังให้สิ้นแล้วย่อมหลับสบาย
[120] ความสุขอื่นยิ่งกว่าสมาธิไม่มีทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
คนผู้มีจิตเป็นสมาธิย่อมไม่เบียดเบียนทั้งผู้อื่นและตนเอง
สีลวีมังสชาดกที่ 10 จบ
กุฏิทูสกวรรคที่ 3 จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กุฏิทูสกชาดก 2. ทุททุภายชาดก
3. พรหมทัตตชาดก 4. จัมมสาฏกชาดก
5. โคธชาดก 6. กักการุชาดก
7. กากวตีชาดก 8. อนนุโสจิยชาดก
9. กาฬพาหุชาดก 10. สีลวีมังสชาดก

4. โกกิลวรรค
หมวดว่าด้วยลูกนกดุเหว่า
1. โกกิลชาดก (331)
ว่าด้วยลูกนกดุเหว่า
(อำมาตย์แก้วโพธิสัตว์ ได้กราบทูลพระราชาว่า)
[121] ผู้ใดพูดเมื่อยังไม่ถึงเวลาพูด ก็พูดเกินเวลา
ผู้นั้นจะถูกกำจัดนอนตายอยู่ เหมือนลูกนกดุเหว่า
[122] ธรรมดาศัสตราที่ลับจนคมดีแล้ว
เหมือนยาพิษที่มีพิษร้ายแรงจะให้ตกไปในทันทีหาได้ไม่
เหมือนวาจาที่เป็นทุพภาษิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :181 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 4. โกกิลวรรค 3. โคธชาดก (333)
[123] เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในเวลาที่ควรพูดและไม่ควรพูด
ไม่ควรพูดให้เกินเวลาแม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน
[124] ส่วนผู้ใดมีความคิดเป็นเบื้องหน้า มีปัญญาเครื่องพิจารณา
เห็นประจักษ์ พูดพอเหมาะกับกาลเวลา
ผู้นั้นย่อมจับศัตรูทั้งหมดไว้ได้ดุจนกครุฑจับนาคได้
โกกิลชาดกที่ 1 จบ

2. รถลัฏฐิชาดก (332)
ว่าด้วยปุโรหิตโกรธประหารผู้อื่นด้วยปะฏัก
(อำมาตย์ผู้พิพากษาโพธิสัตว์ กราบทูลพระราชาว่า)
[125] ข้าแต่มหาราช คนบางคนทำร้ายตนเอง
กลับพูดว่า ถูกทำร้าย
ตนเองชนะ กลับพูดว่า ตนแพ้
ดังนั้น ไม่ควรเชื่อคนที่เป็นโจทก์ฝ่ายเดียว
[126] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นชาติบัณฑิตควรฟังฝ่ายจำเลยบ้าง
เมื่อฟังคำของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วควรตัดสินโดยธรรม
[127] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี
การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี
[128] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน
ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
รถลัฏฐิชาดกที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :182 }