เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 4. โกกิลวรรค 1. โกกิลชาดก (331)
(นกราธโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[114] น้องโปฏฐปาทะเอ๋ย โลกธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ความมีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง
เจ้าอย่าเศร้าโศกไปเลย จะเศร้าโศกไปทำไม
(นกโปฏฐปาทะกล่าวว่า)
[115] พี่ราธะ พี่เป็นบัณฑิตแแท้ ๆ ย่อมรู้ประโยชน์ที่ยังไม่มาถึง
ทำอย่างไร เราจะเห็นลิงชั่วถูกไล่ออกจากราชตระกูล
(นกราธโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[116] ลิงกาฬพาหุกระดิกหู กลอกหน้ากลอกตา
ทำให้พระราชกุมารหวาดกลัวอยู่บ่อย ๆ
มันจะทำตนเองให้อดข้าวและน้ำ1
กาฬพาหุชาดกที่ 9 จบ

10. สีลวีมังสชาดก (330)
ว่าด้วยการพิจารณาอานิสงส์ของศีล
(ปุโรหิตโพธิสัตว์ยืนอยู่ในที่ใกล้พระราชา ได้พรรณนาศีลด้วยคาถานี้ว่า)
[117] ได้ยินว่า ศีลเป็นสิ่งดีงาม ศีลเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก
ดูเถิด นาคที่มีพิษร้ายแรงยังไม่เบียดเบียนใคร ๆ
เพราะสำนึกอยู่ว่าตนมีศีล
(พระโพธิสัตว์เห็นโทษของกามแล้ว จึงกล่าวว่า)
[118] ตราบใด เหยี่ยวนั้นยังคาบชิ้นเนื้อใด ๆ อยู่
ตราบนั้น เหยี่ยวทั้งหลายในโลกก็พากันรุมจิกตีกัน
แต่พวกมันจะไม่เบียดเบียนเหยี่ยวที่ไม่มีความกังวล

เชิงอรรถ :
1 แปลถอดความจากคำบาลีว่า เยนารกา ฐสฺสติ อนฺนปานา แปลว่า อยู่ห่างไกลจากข้าวและน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :180 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 4. โกกิลวรรค 1. โกกิลชาดก (331)
[119] คนที่ไม่มีความหวังย่อมหลับสบาย
ความหวังที่ได้ผลสมหวังเป็นความสุข
นางปิงคลาทำความหวังให้สิ้นแล้วย่อมหลับสบาย
[120] ความสุขอื่นยิ่งกว่าสมาธิไม่มีทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
คนผู้มีจิตเป็นสมาธิย่อมไม่เบียดเบียนทั้งผู้อื่นและตนเอง
สีลวีมังสชาดกที่ 10 จบ
กุฏิทูสกวรรคที่ 3 จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กุฏิทูสกชาดก 2. ทุททุภายชาดก
3. พรหมทัตตชาดก 4. จัมมสาฏกชาดก
5. โคธชาดก 6. กักการุชาดก
7. กากวตีชาดก 8. อนนุโสจิยชาดก
9. กาฬพาหุชาดก 10. สีลวีมังสชาดก

4. โกกิลวรรค
หมวดว่าด้วยลูกนกดุเหว่า
1. โกกิลชาดก (331)
ว่าด้วยลูกนกดุเหว่า
(อำมาตย์แก้วโพธิสัตว์ ได้กราบทูลพระราชาว่า)
[121] ผู้ใดพูดเมื่อยังไม่ถึงเวลาพูด ก็พูดเกินเวลา
ผู้นั้นจะถูกกำจัดนอนตายอยู่ เหมือนลูกนกดุเหว่า
[122] ธรรมดาศัสตราที่ลับจนคมดีแล้ว
เหมือนยาพิษที่มีพิษร้ายแรงจะให้ตกไปในทันทีหาได้ไม่
เหมือนวาจาที่เป็นทุพภาษิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :181 }