เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 5. อัตถกามวรรค 3. เวฬุกชาดก (43)
[41] ผู้ใดที่คนอื่นผู้มีจิตเกื้อกูล อ่อนโยน กล่าวสอนอยู่
ไม่กระทำตามคำสอนของบุคคลผู้หวังความเจริญ
ผู้อนุเคราะห์ด้วยเหตุอันเป็นประโยชน์
ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก เหมือนมิตตวินทุกะจับขาแพะแล้วเศร้าโศกอยู่
โลสกชาดกที่ 1 จบ

2. กโปตกชาดก (42)
ว่าด้วยนกพิราบเตือนกา
(นกพิราบโพธิสัตว์เห็นกาประสบความพินาศ จึงกล่าวว่า)
[42] ผู้ใดอันบุคคลผู้หวังความเจริญ
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวสอนอยู่ ก็ไม่ทำตามคำสั่งสอน
ผู้นั้นย่อมเศร้าโศกอยู่ร่ำไป
เหมือนกาไม่ทำตามคำของนกพิราบตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู
กโปตกชาดกที่ 2 จบ

3. เวฬุกชาดก (43)
ว่าด้วยงูเวฬุกะ
(ดาบสโพธิสัตว์สั่งให้ทำการเผาดาบสที่ถูกงูกัดตายแล้ว จึงกล่าวสอนหมู่ฤๅษีว่า)
[43] ผู้ใดที่คนอื่นผู้มีจิตเกื้อกูล อ่อนโยน กล่าวสอนอยู่
ไม่กระทำตามคำสอนของบุคคลผู้หวังความเจริญ
ผู้อนุเคราะห์ด้วยเหตุอันเป็นประโยชน์
ผู้นั้นย่อมถูกกำจัดนอนตายอยู่ เหมือนฤๅษีผู้เป็นบิดาของงูเวฬุกะ1
เวฬุกชาดกที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า เวฬุก เป็นชื่อของไม้ไผ่ งูที่ได้ชื่อว่า เวฬุกะ เพราะนอนอยู่ในปล้องไม้ไผ่ (ขุ.ชา.อ. 2/43/14)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :18 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 5. อัตถกามวรรค 6. อารามทูสกชาดก (46)
4. มกสชาดก (44)
ว่าด้วยลูกชายโง่ฆ่ายุง
(พ่อค้าโพธิสัตว์เห็นการกระทำของช่างไม้ผู้โง่เขลา จึงกล่าวว่า)
[44] มีศัตรูผู้มีความรู้ยังประเสริฐกว่า
ส่วนมิตรผู้ไร้ปัญญาไม่ประเสริฐเลย
เพราะว่าลูกชายผู้โง่เขลาคิดว่า เราจักฆ่ายุง
ได้ทุบหัวของพ่อเสียแล้ว
มกสชาดกที่ 4 จบ

5. โรหิณีชาดก (45)
ว่าด้วยนางโรหิณี
(พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องที่สาวใช้ซี่งมารดาใช้ให้ไล่แมลงวันกลับใช้สากตีมารดา
จนสิ้นชีวิต จึงกล่าวว่า)
[45] มีศัตรูผู้มีปัญญายังดีกว่ามีคนอนุเคราะห์ที่โง่
เธอจงดูนางโรหิณีชาติชั่ว ฆ่าแม่แล้วเศร้าโศกอยู่
โรหิณีชาดกที่ 5 จบ

6. อารามทูสกชาดก (46)
ว่าด้วยลิงทำลายสวน
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้ฟังคำของลิง จึงกล่าวว่า)
[46] ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์
ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาได้เลย
คนมีปัญญาทรามทำประโยชน์ให้เสียหาย เหมือนลิงเฝ้าสวน
อารามทูสกชาดกที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :19 }