เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 3. กุฏิทูสกวรรค 6. กักการุชาดก (326)
(พ่อค้าบัณฑิตโพธิสัตว์ห้ามปริพาชกนั้นว่า)
[94] นี่พราหมณ์ อย่าได้วางใจสัตว์ 4 เท้าตัวนี้
ด้วยการเห็นมันเพียงครู่เดียวเลย
มันต้องการจะขวิดให้เต็มที่ จึงย่อตัวลงแสดงท่าขวิดให้เหมาะ
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสว่า)
[95] กระดูกขาอ่อนของปริพาชกก็หัก
บริขารที่หาบก็พลัดตกและสัมภาระทั้งหมดของพราหมณ์ก็แตก
ปริพาชกประคองแขนทั้ง 2 ข้างคร่ำครวญอยู่ว่า
ช่วยด้วย แพะฆ่าคนประพฤติพรหมจรรย์
(ปริพาชกกล่าวว่า)
[96] ผู้ที่สรรเสริญคนซึ่งไม่ควรบูชาจะถูกขวิดนอนอยู่
เหมือนเราผู้โง่เขลาถูกแพะขวิดในวันนี้
จัมมสาฏกชาดกที่ 4 จบ

5. โคธชาดก (325)
ว่าด้วยฤๅษีจะกินเหี้ย
(พญาเหี้ยโพธิสัตว์เมื่อสนทนากับดาบส จึงได้กล่าวว่า)
[97] ข้าพเจ้าเข้าใจท่านว่าเป็นสมณะ จึงเข้าไปหาท่านผู้ไม่สำรวม
ท่านเอาท่อนไม้ขว้างปาข้าพเจ้า ทำเหมือนมิใช่สมณะ
[98] นี่เจ้าผู้โง่เขลา จะมีประโยชน์อะไรแก่เจ้า
ด้วยชฎาและการนุ่งห่มหนังเสือเหลือง
ภายในของเจ้าแสนจะรกรุงรัง
เจ้าขัดสีแต่ภายนอกเท่านั้น
(ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[99] มาเถิดเหี้ย เจ้าจงกลับมากินข้าวสาลีสุก
น้ำมัน เกลือ และดีปลีของเรายังมีอยู่เพียงพอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :176 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 3. กุฏิทูสกวรรค 6. กักการุชาดก (326)
(พญาเหี้ยโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[100] ข้าพเจ้านั้นจะเข้าไปยังจอมปลวกที่ลึกถึง 100 ชั่วคน
น้ำมัน เกลือ และดีปลีของท่านจะมีประโยชน์อะไร
สิ่งเหล่านั้นไม่มีประโยชน์สำหรับข้าพเจ้า
โคธชาดกที่ 5 จบ

6. กักการุชาดก (326)
ว่าด้วยผู้สมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(หัวหน้าเทพบุตรองค์ที่ 1 กล่าวกับพระราชาผู้ขอดอกไม้ทิพย์ว่า)
[101] ผู้ใดไม่ลักทรัพย์ด้วยกาย ไม่พูดเท็จ
ได้ยศแล้วก็ไม่มัวเมา ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(เทพบุตรองค์ที่ 2 กล่าวกับปุโรหิตว่า)
[102] ผู้ใดแสวงหาทรัพย์อันน่าปลื้มใจโดยชอบธรรม
ไม่หลอกลวงเอาทรัพย์เขามา ได้โภคะทั้งหลายแล้วไม่มัวเมา
ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(เทพบุตรองค์ที่ 3 กล่าวกับปุโรหิตว่า)
[103] ผู้ใดมีจิตไม่หน่ายเร็ว มีศรัทธาไม่คลายง่าย
ไม่บริโภคโภชนะอร่อยเพียงคนเดียว
ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(เทพบุตรองค์ที่ 4 กล่าวกับปุโรหิตว่า)
[104] ผู้ใดไม่ด่าว่าสัตบุรุษต่อหน้าหรือลับหลัง
พูดอย่างไรทำอย่างนั้น
ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
กักการุชาดกที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :177 }