เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 2. ปุจิมันทวรรค 4. โลหกุมภิชาดก (314)
(ดาบสโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[50] พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้ตัดมือ
เท้า ใบหู และจมูกของข้าพเจ้า
ขอให้พระราชาพระองค์นั้นจงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
บัณฑิตทั้งหลายเช่นอาตมาไม่โกรธเคืองเลย
(พระศาสดาได้ตรัส 2 พระคาถานี้ว่า)
[51] สมณะผู้ถึงสรรเสริญขันติมีในอดีตกาลนานมาแล้ว
พระเจ้ากาสีได้รับสั่งให้ประหารดาบสผู้ดำรงมั่นในขันติธรรมองค์นั้น
[52] พระเจ้ากาสีเบียดเสียดอยู่ในนรก
เสวยวิบากอันเผ็ดร้อนแห่งกรรมอันหยาบช้านั้น
ขันติวาทิชาดกที่ 3 จบ

4. โลหกุมภิชาดก (314)
ว่าด้วยสัตว์ในโลหกุมภีนรก
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า ทุ แล้วจมลง ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[53] พวกเราเมื่อโภคะทั้งหลายมีอยู่ ไม่ได้ให้ทาน
ไม่ได้กระทำที่พึ่งให้แก่ตน
จึงชื่อว่ามีชีวิตอยู่อย่างชั่วช้า
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า ส ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[54] พวกเราไหม้อยู่ในนรกทั้งหมด 60,000 ปีบริบูรณ์
เมื่อไรหนอที่สุดจะปรากฏ
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า น ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[55] เพื่อนยาก ที่สุดไม่มี ที่สุดจะมีแต่ที่ไหน
ที่สุดจักไม่ปรากฏ เพราะว่าในกาลนั้น
เราและท่านได้ทำกรรมชั่วไว้มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :167 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 2. ปุจิมันทวรรค 7. มตโรทนชาดก (317)
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า โส ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[56] เราไปจากที่นี้แล้วได้เกิดเป็นมนุษย์
จะรู้ถ้อยคำของผู้ขอ ถึงพร้อมด้วยศีล กระทำกุศลให้มาก
โลหกุมภิชาดกที่ 4 จบ

5. มังสชาดก (315)
ว่าด้วยบุตรเศรษฐีขอเนื้อนายพราน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ 1 ว่า)
[57] ท่านเป็นผู้ขอเนื้อ
คำพูดของท่านหยาบจริง ๆ เช่นกับเนื้อพังผืด
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อพังผืดแก่ท่าน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ 2 ว่า)
[58] คำว่า พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว
เป็นเช่นกับอวัยวะของมนุษย์ที่เขาพูดกันอยู่ในโลก
คำพูดของท่านเช่นกับอวัยวะ
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อล้วน ๆ แก่ท่าน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ 3 ว่า)
[59] เมื่อลูกเรียกว่าพ่อ ใจพ่อก็หวั่นไหว
คำพูดของท่านเช่นกับเนื้อหัวใจ
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อหัวใจแก่ท่าน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ 4 ว่า)
[60] ในบ้านของผู้ใดไม่มีเพื่อน บ้านนั้นเป็นเช่นกับป่า
คำพูดของท่านเช่นกับสมบัติทั้งหมด
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อทั้งหมดแก่ท่าน
มังสชาดกที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :168 }