เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 2. ปุจิมันทวรรค 4. โลหกุมภิชาดก (314)
2. กัสสปมันทิยชาดก (312)
ว่าด้วยฤาษีกัสสปมันทิยะ
(ฤๅษีโพธิสัตว์สอนบิดาว่า)
[45] ท่านพ่อกัสสปะ แม้เด็กหนุ่มจะด่าว่าบ้าง
ทุบตีบ้าง เพราะยังเป็นวัยรุ่น
บัณฑิตผู้ฉลาดย่อมอดทน อดกลั้น
ความผิดทั้งหมดนั้นที่เด็กวัยรุ่นทำ
[46] แม้ถ้าบัณฑิตทั้งหลายวิวาทกันก็ประสานกันได้โดยเร็ว
ส่วนคนพาลแตกกันเหมือนภาชนะดิน
พวกเขาระงับเวรกันไม่ได้เลย
[47] คนที่รู้โทษที่ตนล่วงเกินแล้ว และคนที่รู้จักการให้อภัย
ทั้ง 2 คนนั้นจะสมัครสมานกันยิ่งขึ้น
ความสนิทสนมของพวกเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย
[48] ผู้ใดเมื่อชนเหล่าอื่นล่วงเกินกัน
เขาสามารถประสานชนเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง
ผู้นั้นแหละเป็นผู้ยอดเยี่ยม
เป็นผู้นำภาระไป เป็นผู้ทรงธุระไว้ได้
กัสสปมันทิยชาดกที่ 2 จบ

3. ขันติวาทิชาดก (313)
ว่าด้วยขันติวาทีดาบส
(เสนาบดีขอร้องดาบสโพธิสัตว์ไม่ให้โกรธว่า)
[49] ท่านมหาวีระ ผู้ใดสั่งให้ตัดมือ เท้า ใบหู และจมูกของท่าน
ท่านจงโกรธผู้นั้นเถิด อย่าให้แว่นแคว้นนี้พินาศเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :166 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 2. ปุจิมันทวรรค 4. โลหกุมภิชาดก (314)
(ดาบสโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[50] พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้ตัดมือ
เท้า ใบหู และจมูกของข้าพเจ้า
ขอให้พระราชาพระองค์นั้นจงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
บัณฑิตทั้งหลายเช่นอาตมาไม่โกรธเคืองเลย
(พระศาสดาได้ตรัส 2 พระคาถานี้ว่า)
[51] สมณะผู้ถึงสรรเสริญขันติมีในอดีตกาลนานมาแล้ว
พระเจ้ากาสีได้รับสั่งให้ประหารดาบสผู้ดำรงมั่นในขันติธรรมองค์นั้น
[52] พระเจ้ากาสีเบียดเสียดอยู่ในนรก
เสวยวิบากอันเผ็ดร้อนแห่งกรรมอันหยาบช้านั้น
ขันติวาทิชาดกที่ 3 จบ

4. โลหกุมภิชาดก (314)
ว่าด้วยสัตว์ในโลหกุมภีนรก
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า ทุ แล้วจมลง ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[53] พวกเราเมื่อโภคะทั้งหลายมีอยู่ ไม่ได้ให้ทาน
ไม่ได้กระทำที่พึ่งให้แก่ตน
จึงชื่อว่ามีชีวิตอยู่อย่างชั่วช้า
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า ส ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[54] พวกเราไหม้อยู่ในนรกทั้งหมด 60,000 ปีบริบูรณ์
เมื่อไรหนอที่สุดจะปรากฏ
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า น ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[55] เพื่อนยาก ที่สุดไม่มี ที่สุดจะมีแต่ที่ไหน
ที่สุดจักไม่ปรากฏ เพราะว่าในกาลนั้น
เราและท่านได้ทำกรรมชั่วไว้มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :167 }