เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 1. กาลิงควรรค 9. ฉวชาดก (309)
9. ฉวชาดก (309)
ว่าด้วยการนั่งเรียนมนต์ไม่เหมาะสมเหมือนเรียนกับศพ
(คนจัณฑาลโพธิสัตว์ไปลักมะม่วงในพระราชอุทยาน เห็นพระราชานั่งในที่สูง
เรียนมนต์ ปุโรหิตนั่งในที่ต่ำสอนมนต์ จึงลงจากต้นมะม่วงมาตำหนิ ถูกพระราชา
ตรัสถามแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[33] กิจที่เราทั้ง 3 กระทำขึ้นนี้ทั้งหมดไม่ชอบธรรม
เพราะคนทั้ง 2 ไม่เห็นธรรมเนียม
จึงเคลื่อนคลาดจากธรรมเนียมเดิม
อาจารย์ผู้สอนมนต์นั่งต่ำ
และศิษย์ผู้เรียนมนต์นั่งสูง
(ปุโรหิตกล่าวว่า)
[34] เราบริโภคข้าวสาลีสุก สะอาด ปรุงด้วยเนื้อ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ประพฤติธรรม
ที่ฤๅษีทั้งหลายประพฤติกัน
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[35] ท่านจงหลีกไป โลกนี้ยังกว้างใหญ่
แม้คนอื่นในชมพูทวีปก็ยังหุงข้าวกินกันอยู่
เพราะเหตุนั้น ขออธรรมที่ท่านได้ประพฤติมาแล้ว
อย่าได้ทำลายท่านเหมือนหินทำลายหม้อเลย
[36] พราหมณ์ น่าติเตียนการได้ยศ
และการได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิต
ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบความพินาศ
และประพฤติผิดธรรม
ฉวชาดกที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :163 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [4. จตุกกนิบาต] 2. ปุจิมันทวรรค 1. ปุจิมันทชาดก (311)
10. สัยหชาดก (310)
ว่าด้วยสัยหอำมาตย์
(ฤๅษีโพธิสัตว์ได้กล่าวกับสัยหอำมาตย์ว่า)
[37] เราไม่ปรารถนาแผ่นดินอันมีสมุทรเป็นขอบเขต
มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู พร้อมกับคำนินทา
ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด สัยหอำมาตย์
[38] พราหมณ์ น่าติเตียนการได้ยศ
และการได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิต
ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบความพินาศ
หรือประพฤติไม่เป็นธรรม
[39] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ
การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
[40] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ
ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลก
การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการครองราชสมบัติ
สัยหชาดกที่ 10 จบ
กาลิงควรรคที่ 1 จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

1. จูฬกาลิงคชาดก 2. มหาอัสสาโรหชาดก
3. เอกราชชาดก 4. ทัททรชาดก
5. สีลวีมังสชาดก 6. สุชาตาชาดก
7. ปลาสชาดก 8. ชวสกุณชาดก
9. ฉวชาดก 10. สัยหชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :164 }