เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 4. กุลาวกวรรค 7. ติตติรชาดก (31)
5. วัฏฏกชาดก (35)
ว่าด้วยนกคุ่มโพธิสัตว์
(นกคุ่มโพธิสัตว์เมื่อจะห้ามไฟป่า ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าในอดีต
ปรารภสัจจะที่มีอยู่ในตน เมื่อจะทำสัจจกิริยา จึงกล่าวว่า)
[35] ปีกของเรามีอยู่แต่ยังบินไม่ได้
เท้าทั้ง 2 ข้างของเรามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้
และมารดาบิดาของเราก็หนีภัยออกไปแล้ว
นี่ไฟป่า เจ้าจงถอยกลับไปเถิด
วัฏฏกชาดกที่ 5 จบ

6. สกุณชาดก (36)
ว่าด้วยนกโพธิสัตว์
(นกโพธิสัตว์เห็นกิ่งไม้เสียดสีกันเกิดไฟป่า จึงกล่าวแก่นกยูงว่า)
[36] นกทั้งหลายอาศัยต้นไม้ใด
ต้นไม้นั้นปล่อยไฟออกมา
นี่นกทั้งหลาย พวกเธอจงหนีไปยังทิศทั้งหลายเถิด
ภัยได้เกิดมีแต่ต้นไม้อันเป็นที่พึ่งของพวกเรา
สกุณชาดกที่ 6 จบ

7. ติตติรชาดก (37)
ว่าด้วยนกกระทา
(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อภิกษุผู้
แก่กว่า จึงตรัสว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :15 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 4. กุลาวกวรรค 9. นันทชาดก (39)
[37] นรชนเหล่าใดฉลาดในธรรม1
ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญ2ทั้งหลาย
นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และมีสุคติภพในเบื้องหน้า
ติตติรชาดกที่ 7 จบ

8. พกชาดก (38)
ว่าด้วยนกยาง
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์สถิตอยู่ที่ต้นกุ่ม ได้เห็นเหตุอัศจรรย์ที่นกยางถูกปูหนีบ
คอจมน้ำตาย เมื่อจะให้สาธุการ จึงกล่าวว่า)
[38] ผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงผู้อื่น
จะพบความสุขอยู่ได้ไม่นาน
ผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงผู้อื่นนั้น
ต้องประสบบาปกรรมที่ตนทำไว้
เหมือนนกยางที่ถูกปูหนีบตาย
พกชาดกที่ 8 จบ

9. นันทชาดก (39)
ว่าด้วยนายนันททาส
(กุฎุมพีโพธิสัตว์เมื่อจะบอกขุมทรัพย์แก่กุมารผู้เป็นลูกของเพื่อน จึงกล่าวว่า)
[39] ทาสชื่อนันทะ เกิดจากนางทาสี ยืนพูดคำหยาบอยู่ที่ใด
เรารู้ว่ามีกองรัตนะและมาลัยทองอยู่ที่นั้น
นันทชาดกที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงความประพฤติยำเกรงต่อบุคคลผู้เจริญ (ขุ.ชา.อ. 1/37/301)
2 ผู้เจริญมี 3 ประเภท คือ ( 1) เจริญโดยชาติ (2) เจริญโดยวัย (3) เจริญโดยคุณ (ขุ.ชา.อ. 1/37/301)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :16 }