เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 4. อัพภันตรวรรค 10. สีลวีมังสกชาดก (290)
(เทวดาบอกการโกงที่น้องชายกระทำแก่พระโพธิสัตว์ว่า)
[114] ผู้ใดทำกรรมชั่ว
ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติของพี่น้องชายของพ่อแม่
ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้มีจิตชั่วร้าย
ย่อมไม่มีความเจริญ
แม้เทวดาก็ไม่นับถือเขา
มัจฉุททานชาดกที่ 8 จบ

9. นานาฉันทชาดก (289)
ว่าด้วยความต้องการที่ต่างกัน
(พราหมณ์กล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า)
[115] ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายอยู่ในเรือนหลังเดียวกัน
แต่มีความต้องการต่างกัน คือ ข้าพระองค์ต้องการบ้านส่วย
ส่วนนางพราหมณีต้องการแม่โคนม 100 ตัว
[116] บุตรของข้าพระองค์ต้องการรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
หญิงสะใภ้ต้องการต่างหูแก้วมณี
ส่วนนางปุณณิกาทาสีผู้ต่ำต้อยต้องการครก
กระด้ง และสาก พระเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[117] ท่านทั้งหลายจงให้บ้านส่วยแก่พราหมณ์
แม่โคนม 100 ตัวแก่นางพราหมณี
รถเทียมม้าอาชาไนยแก่บุตรของพราหมณ์
ต่างหูแก้วมณีแก่หญิงสะใภ้
และครก กระด้ง สากแก่นางปุณณิกาทาสีผู้ต่ำต้อย
นานาฉันทชาดกที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :146 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 4. อัพภันตรวรรค 10. สีลวีมังสกชาดก (290)
10. สีลวีมังสกชาดก (290)
ว่าด้วยการพิจารณาอานิสงส์ของศีล
(พราหมณ์ได้กราบทูลพระราชาถึงการกระทำของตนเพราะต้องการจะทดลอง
ศีลว่า)
[118] ได้ยินว่า ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม
ศีลเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก
ดูเถิด นาคที่พิษร้ายแรงยังไม่เบียดเบียนใคร ๆ
เพราะสำนึกอยู่ว่าตนมีศีล
[119] เราจักสมาทานศีลที่บัณฑิตรับรองว่า
เป็นสิ่งที่ปลอดภัยในโลก
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้มีศีลได้รับการขนานนามว่า
เป็นผู้ประพฤติข้อปฏิบัติของพระอริยะ
[120] ผู้มีศีลเป็นที่รักของหมู่ญาติ
และรุ่งเรืองในหมู่มิตร
หลังจากตายแล้วจะไปสู่สุคติ
สีลวีมังสกชาดกที่ 10 จบ
อัพภันตรวรรคที่ 4 จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อัพภันตรชาดก 2. เสยยชาดก
3. วัฑฒกีสูกรชาดก 4. สิริชาดก
5. มณิสูกรชาดก 6. สาลูกชาดก
7. ลาภครหชาดก 8. มัจฉุททานชาดก
9. นานาฉันทชาดก 10. สีลวีมังสกชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :147 }