เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 4. อัพภันตรวรรค 5. มณิสูกรชาดก (285)
4. สิริชาดก (284)
ว่าด้วยสมบัติเกิดขึ้นแก่ผู้มีบุญ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[100] ผู้ไม่มีบุญจะมีศิลปะหรือไม่มีศีลปะก็ตามที
ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้เป็นจำนวนมาก
ทรัพย์นั้นผู้มีบุญย่อมได้ใช้สอย
[101] สมบัติจำนวนมากล่วงเลยคนเหล่าอื่นไปเสีย
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำบุญไว้ในที่ทั้งปวงเท่านั้น
แม้รัตนะทั้งหลายก็เกิดขึ้นในที่มิใช่บ่อเกิดแห่งรัตนะ
(พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงรัตนะเหล่านั้น จึงตรัสว่า)
[102] ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อปุญญลักขณาเทวี
เกิดขึ้นแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ไม่ทำบาปทำแต่บุญไว้แล้ว
สิริชาดกที่ 4 จบ

5. มณิสูกรชาดก (285)
ว่าด้วยสุกรพยายามทำลายแก้วมณี
(สุกรทั้งหลายไม่เห็นอุบายจึงเข้าไปหาดาบสโพธิสัตว์ไหว้แล้ว จึงกล่าวว่า)
[103] พวกข้าพเจ้าประมาณ 30 ตัว
ได้อาศัยอยู่ในถ้ำแก้วมณีถึง 7 ปี
ได้ปรึกษากันว่า พวกเราจะทำลายประกายของแก้วมณี
[104] แก้วมณีกลับผ่องใสยิ่งขึ้น
ตลอดเวลาที่พวกข้าพเจ้าเสียดสีมันอยู่
บัดนี้ พวกข้าพเจ้าขอถามถึงกิจนี้
ท่านเข้าใจกิจนี้อย่างไรในเรื่องนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :143 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 4. อัพภันตรวรรค 8. มัจฉุททานชาดก (288)
(ดาบสโพธิสัตว์บอกแก่สุกรเหล่านั้นว่า)
[105] แก้วไพฑูรย์นี้บริสุทธิ์งามผ่องใส
ไม่มีใครสามารถจะทำลายรัศมีของแก้วไพฑูรย์นั้นให้เสียหายได้
สุกรทั้งหลาย พวกท่านจงพากันหนีไปเถิด
มณิสูกรชาดกที่ 5 จบ

6. สาลูกชาดก (286)
ว่าด้วยสุกรสาลูกะถูกเลี้ยงไว้ฆ่า
(โคมหาโลหิตโพธิสัตว์ได้กล่าวกับโคจูฬโลหิตผู้น้องว่า)
[106] เจ้าอย่าปรารถนาเป็นเช่นสุกรสาลูกะเลย
เพราะสุกรสาลูกะนี้กินอาหารที่ทำให้เดือดร้อน
เจ้าอย่าทะเยอทะยานไปนัก จงกินต้นข้าวลีบเถิด
นั่นเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้มีอายุยืน
[107] อีกไม่นานนัก ข้าราชสำนักพร้อมกับบริวารนั้นจะเป็นแขกมาที่นี้
ตอนนั้นเจ้าจะเห็นสุกรสาลูกะถูกตีด้วยสากนอนตายอยู่
(พระศาสดาตรัสพระคาถานี้ว่า)
[108] ครั้นเห็นสุกรสาลูกะถูกฆ่าด้วยสากนอนตายถูกชำแหละอยู่
โคแก่ทั้ง 2 ได้คิดว่า ต้นข้าวลีบของพวกเราเท่านั้นประเสริฐที่สุด
สาลูกชาดกที่ 6 จบ

7. ลาภครหชาดก (287)
ว่าด้วยวิธีการหลอกลวงเพื่อแสวงหาลาภ
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์ได้ตรัสกับมาณพผู้เป็นศิษย์ว่า)
[109] ไม่บ้าก็ทำเป็นเหมือนคนบ้า
ไม่ใช่คนส่อเสียดก็ทำเป็นเหมือนคนส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :144 }