เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 3. อุทปานวรรค 9. สตปัตตชาดก (279)
[83] ท่านจงขวิดมัน จงเหยียบมัน
ถ้าไม่ปรามมันไว้บ้าง
พวกสัตว์โง่ก็จะพึงเบียดเบียนหนักข้อขึ้น
(กระบือโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[84] ก็เมื่อเจ้าลิงตัวนี้เข้าใจว่ากระบือตัวอื่นเหมือนข้าพเจ้า
จักกระทำอนาจารอย่างนี้
กระบือเหล่านั้นก็จักฆ่ามันเสียในที่นั้น
ข้าพเจ้าจักพ้นจากปาณาติบาต
มหิสชาดกที่ 8 จบ

9. สตปัตตชาดก (279)
ว่าด้วยมาณพเข้าใจผิดนกกระไน
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[85] นางสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวไปในป่าปรารถนาดี
ประกาศให้รู้ในหนทาง
มาณพเข้าใจว่าเป็นผู้ไม่ปรารถนาดี
แต่เข้าใจนกกระไนผู้ไม่ปรารถนาดีว่า
เป็นผู้ปรารถนาดี ฉันใด
[86] บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อผู้หวังดีกล่าวสอน ก็ไม่รับคำสอน
[87] อนึ่ง ชนเหล่าใดสรรเสริญบุคคลนั้น
หรือยกย่องบุคคลนั้น เพราะความกลัว
เขาย่อมเข้าใจบุคคลนั้นว่าเป็นมิตร
เหมือนมาณพเข้าใจนกกระไน
สตปัตตชาดกที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :139 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 4. อัพภันตรวรรค 2. เสยยชาดก (282)
10. ปุฏทูสกชาดก (280)
ว่าด้วยลิงผู้ชอบทำลายพวงดอกไม้
(พราหมณ์โพธิสัตว์เรียกลิงจ่าฝูงมาว่ากล่าวว่า)
[88] พญาเนื้อ ท่านเห็นจะเป็นผู้ฉลาดในการทำห่อใบไม้เป็นแน่แท้
เพราะฉะนั้นจึงได้รื้อมันเสีย
คงจะกระทำพวงอื่นให้ดีกว่าเป็นแน่
(ลิงได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[89] มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในการทำพวงใบไม้ก็หาไม่
พวกเราได้แต่รื้อสิ่งของที่เขาทำไว้แล้ว ๆ เท่านั้น
ตระกูลของพวกเรานี้มีธรรมอย่างนี้
(พราหมณ์โพธิสัตว์กล่าวว่า)
[90] ธรรมของพวกเจ้ายังเป็นเช่นนี้
ก็สภาพที่มิใช่ธรรมของพวกเจ้าจะเป็นเช่นไร
ขอพวกเราอย่าได้เห็นธรรม
หรือสภาพที่มิใช่ธรรมของพวกเจ้าในกาลไหน ๆ เลย
ปุฏทูสกชาดกที่ 10 จบ
อุทปานวรรคที่ 3 จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อุทปานทูสกชาดก 2. พยัคฆชาดก
3. กัจฉปชาดก 4. โลลชาดก
5. รุจิรชาดก 6. กุรุธัมมชาดก
7. โรมชาดก 8. มหิสชาดก
9. สตปัตตชาดก 10. ปุฏทูสกชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :140 }