เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 2. ปทุมวรรค 8. อารามทูสกชาดก (268)
7. สุวัณณกักกฏกชาดก (267)
ว่าด้วยนางช้างพังอ้อนวอนปูทอง
(ช้างโพธิสัตว์ให้ช้างพังทราบว่าตนถูกปูหนีบเพื่อจะไม่ให้นางหนีไป จึงกล่าวว่า)
[49] เราถูกปูทองซึ่งมีตาโปนออกมา
มีกระดูกเป็นหนังอาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีขน หนีบแล้ว
ร้องขอความกรุณาอยู่
เจ้าอย่าทิ้งเราผู้เป็นสามีคู่ชีวิตไปเลย
(ช้างพังหันกลับไปปลอบโยนพระโพธิสัตว์ว่า)
[50] ข้าแต่ลูกเจ้า ดิฉันจะไม่ทิ้งท่าน
ผู้เป็นช้างมีอายุ 60 ปี เสื่อมกำลัง
ท่านเป็นสามีสุดที่รักของดิฉัน
ยิ่งกว่าแผ่นดินอันมีมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบเขต
(ช้างพังอ้อนวอนปูทองว่า)
[51] ท่านเป็นสัตว์น้ำที่ประเสริฐกว่าปูทั้งหลายในสมุทร
ในแม่น้ำคงคา และในแม่น้ำยมุนา
ขอท่านจงปล่อยสามีของข้าพเจ้าผู้ร้องไห้อยู่เถิด
สุวัณณกักกฏกชาดกที่ 7 จบ

8. อารามทูสกชาดก (268)
ว่าด้วยลิงทำลายสวน
(พระโพธิสัตว์เห็นกิริยาของลิง จึงกล่าวว่า)
[52] ลิงตัวที่ได้รับสมมติว่าประเสริฐที่สุด
กว่าลิงทั้งปวงที่มีชาติเสมอกัน ยังมีปัญญาเพียงแค่นี้
ส่วนลิงนอกจากนี้จะมีปัญญาเช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :131 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [3. ติกนิบาต] 2. ปทุมวรรค 10. อุลูกชาดก
(พวกลิงได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว จึงกล่าวว่า)
[53] ท่านผู้ประเสริฐ ท่านยังไม่รู้จึงได้ติเตียนอย่างนี้
พวกเราไม่เห็นรากแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า
ต้นไม้หยั่งรากลงลึกแค่ไหน
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[54] เราไม่ติเตียนพวกเจ้าที่เป็นลิงป่าหรอก
แต่ผู้ที่ควรถูกตำหนิคือพระเจ้าวิสสเสนะ
ที่พวกเจ้าปลูกต้นไม้ให้
อารามทูสกชาดกที่ 8 จบ

9. สุชาตาชาดก (269)
ว่าด้วยทรงปรารภนางสุชาดา
(พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพรหมทัตได้ตรัสกับพระมารดาว่า)
[55] ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
มีเสียงอันไพเราะ น่ารักน่าชม แต่พูดจาหยาบกระด้าง
ย่อมไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[56] พระองค์ทรงทอดพระเนตรแล้วมิใช่หรือ
นกดุเหว่าสีดำตัวนี้มีสีไม่สวย ลายพร้อยไปทั้งตัว
แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาก
เพราะร้องด้วยเสียงอันไพเราะ
[57] เพราะฉะนั้นบุคคลควรพูดคำอันสละสลวย
คิดก่อนพูด พูดพอประมาณไม่ฟุ้งซ่าน
ถ้อยคำของผู้ที่แสดงเป็นอรรถเป็นธรรม
เป็นถ้อยคำอันไพเราะ เป็นถ้อยคำที่เป็นภาษิต
สุชาตาชาดกที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :132 }