เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 3. กุรุงควรรค 7. อภิณหชาดก (27)
5. ติตถชาดก (25)
ว่าด้วยการรังเกียจท่าน้ำ
(อำมาตย์โพธิสัตว์กล่าวกับคนเลี้ยงม้าว่า)
[25] นายสารถี ท่านจงให้ม้าดื่มน้ำที่ท่าอื่น ๆ บ้าง
แม้ข้าวปายาสที่รับประทานบ่อย ๆ คนก็ยังเบื่อได้
ติตถชาดกที่ 5 จบ

6. มหิฬามุขชาดก (26)
ว่าด้วยพญาช้างมหิฬามุข
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[26] พญาช้างต้นชื่อมหิฬามุขได้เที่ยวทำร้ายคน
เพราะสำเหนียกคำของพวกโจรมาก่อน
พญามงคลหัตถีได้ตั้งอยู่ในคุณธรรมทั้งปวง
เพราะสำเหนียกคำของนักบวชผู้สำรวมดี
มหิฬามุขชาดกที่ 6 จบ

7. อภิณหชาดก (27)
ว่าด้วยการได้เห็นกันเนือง ๆ
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[27] พญาช้างต้นไม่สามารถจะรับคำข้าว ไม่สามารถจะรับก้อนข้าว
ไม่สามารถจะรับหญ้า และไม่สามารถจะขัดสีร่างกายได้
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าพญาช้างตัวประเสริฐ
มีความเยื่อใยในลูกสุนัข เพราะได้เห็นกันเนือง ๆ พระเจ้าข้า
อภิณหชาดกที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :11 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 3. กุรุงควรรค 10. มุนิกชาดก (30)
8. นันทิวิสาลชาดก (28)
ว่าด้วยโคนันทิวิสาล
(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้พูดคำหยาบคาย ตรัสนันทิวิสาล-
ชาดกนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[28] บุคคลควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในเวลาไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ
โคนันทิวิสาลจึงลากสัมภาระอันหนักไปได้
ทั้งยังทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์อีกด้วย
ส่วนตนเองก็ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้น
นันทิวิสาลชาดกที่ 8 จบ

9. กัณหชาดก (29)
ว่าด้วยโคกัณหะ
(พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า พระตถาคตหาผู้เสมอเหมือนมิได้ทั้งใน
อดีตทั้งในปัจจุบัน จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[29] ในที่ใด ๆ มีธุระหนัก ในที่ใดหนทางเป็นร่องลึก ขรุขระ
ในเวลานั้นแหละ ชนทั้งหลายจะเทียมโคกัณหะ
โคกัณหะนั้นแหละจะนำธุระอันนั้นไปได้
กัณหชาดกที่ 9 จบ

10. มุนิกชาดก (30)
ว่าด้วยหมูชื่อมุนิกะ
(โคโพธิสัตว์พูดกับน้องซึ่งมีความน้อยใจว่า เขาเลี้ยงด้วยหญ้าและฟาง เลี้ยง
สุกรด้วยข้าวต้มและข้าวสวย จึงกล่าวคาถานี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :12 }