เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 7. พีรณถัมภกวรรค 10. ธัมมัทธชชาดก (220)
9. ครหิตชาดก (219)
ว่าด้วยผู้ครองเรือนถูกพญาวานรติเตียน
(พญาวานรโพธิสัตว์ได้กล่าวกับพวกวานรว่า)
[137] มนุษย์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม ไม่เห็นอริยธรรม1
กล่าวกันอย่างนี้ว่า เงินของฉัน ทองของฉัน ทั้งคืนทั้งวัน
[138] ในเรือนหลังหนึ่งมีเจ้าของเรือนอยู่ 2 คน
ใน 2 คนนั้น คนหนึ่งไม่มีหนวด นมยาน
เกล้าผมมวย และเจาะหู ถูกซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นจำนวนมาก
ชายเจ้าของเรือนนั้นพูดเสียดแทงชนนั้นตั้งแต่วันที่มาถึง
ครหิตชาดกที่ 9 จบ

10. ธัมมัทธชชาดก (220)
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นธงชัย
(ท้าวสักกะตรัสถามปุโรหิตโพธิสัตว์ว่า)
[139] ท่านดูเหมือนอยู่เป็นสุข ท่านจากบ้านเมืองมาสู่ป่าแห้งแล้ง
นั่งเพ่งพินิจคิดอะไรอยู่ผู้เดียวที่โคนไม้ เหมือนคนกำพร้า
(ปุโรหิตโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[140] ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข
ข้าพเจ้าจากบ้านเมืองมาสู่ป่าแห้งแล้ง
หวนระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ
นั่งพินิจคิดอยู่แต่ผู้เดียวที่โคนไม้ เหมือนคนกำพร้า
ธัมมัทธชชาดกที่ 10 จบ
พีรณถัมภกวรรคที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 อริยธรรม หมายถึงธรรมของพระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้แก่ โลกุตตรธรรม 9 (คือ มรรค
4 ผล 4 นิพพาน 1) อันประเสริฐ ปราศจากโทษ (ขุ.ชา.อ. 3/137/186)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :101 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 8. กาสาววรรค 3. ปุฏภัตตชาดก (223)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

1. โสมทัตตชาดก 2. อุจฉิฏฐภัตตชาดก
3. ภรุราชชาดก 4. ปุณณนทีชาดก
5. กัจฉปชาดก 6. มัจฉชาดก
7. เสคคุชาดก 8. กูฏวาณิชชาดก
9. ครหิตชาดก 10. ธัมมัทธชชาดก

8. กาสาววรรค
หมวดว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
1. กาสาวชาดก (221)
ว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
(พญาช้างโพธิสัตว์ได้ติเตียนมนุษย์เข็ญใจที่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ว่า)
[141] ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาด1ยังไม่หมดไป
ปราศจากทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เลย
[142] ส่วนผู้ใดคลายกิเลสดุจน้ำฝาดได้แล้ว
ตั้งมั่นด้วยดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
กาสาวชาดกที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 กิเลสดุจน้ำฝาด ได้แก่ ราคะ (ความกำหนัด) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง)
มักขะ (ความลบหลู่บุญคุณท่าน) ปลาสะ (การตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ความตะหนี่)
มายา (ความเป็นคนเจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความ
ถือตัว) อติมานะ (ความดูหมิ่น) มทะ (ความมัวเมา) ปมาทะ (ความประมาท) อกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
กรรมที่นำไปเกิดในภพทั้งปวง กิเลสพันห้า นี้เรียกว่า กิเลสดุจน้ำฝาด (น้ำย้อม) (ขุ.ชา.อ. 3/141/199)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :102 }