เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [6. ฉักกนิบาต] 8. วิชยาเถรีคาถา
[165] ภิกษุณี เธอละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 อย่างนี้ คือ
สักกายทิฏฐิ1 วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
กามราคะ ปฏิฆะ
[166] ให้ขาดแล้ว อย่าได้กลับมาสู่กามภพนี้อีก
[167] เธอละเว้นรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
ตัดสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จะทำที่สุดทุกข์ได้
[168] ทำชาติสงสารให้สิ้นไปแล้ว
กำหนดรู้ภพใหญ่
หมดความทะยานอยาก
จะเป็นผู้สงบระงับอยู่ในปัจจุบัน

8. วิชยาเถรีคาถา
ภาษิตของพระวิชยาเถรี
(พระวิชยาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ด้วยการรเปล่งอุทานว่า)
[169] เราบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้
จึงไม่ได้ความสงบใจ
ต้องเข้าออกจากที่อยู่ถึง 4-5 ครั้ง
[170] จึงเข้าไปหาพระเขมาภิกษุณี
ไต่ถามโดยเคารพ
ท่านแสดงธรรมโปรดเรา คือ ธาตุ อายตนะ

เชิงอรรถ :
1 สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา (ความสงสัย) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่น
ศีลพรต) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดขัดเคือง) รูปราคะ (ความปรารถนา
ในรูปภพ) อรูปราคะ (ความปรารถนาในอรูปภพ) มานะ (ความสำคัญตน) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าาน)
อวิชชา (ความไม่รู้จริง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :582 }