เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [6. ฉักกนิบาต] 4. สุชาตาเถรีคาถา
พระเขมาเถรี(เมื่อจะประกาศความไม่ยินดีของตน จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[140] เราอึดอัดเอือมระอาด้วยกายที่เปื่อยเน่า กระสับกระส่าย
ซึ่งมีอันจะแตกพังไปเป็นธรรมดานี้อยู่
เราถอนกามตัณหาได้แล้ว
[141] กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
เป็นเขียงรองสับขันธ์ทั้งหลาย
บัดนี้เราไม่มีความยินดีในกามที่ท่านพูดถึง
[142] เรากำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว
ทำลายกองความมืดได้แล้ว
มารผู้ชั่วช้าเลวทราม ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านถูกเรากำจัดแล้ว
[143] พวกคนเขลาไม่รู้ตามความเป็นจริง
พากันนอบน้อมดวงดาวทั้งหลาย
บูชาไฟอยู่ในป่าแล้วได้สำคัญว่าบริสุทธิ์
[144] ส่วนเราแล นอบน้อมเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นบุรุษสูงสุด จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา

4. สุชาตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุชาดาเถรี
(พระสุชาดาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ ด้วยการเปล่งอุทานว่า)
[145] เราแต่งตัว นุ่งห่มผ้าอย่างดี สวมมาลัย ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง มีหมู่สาวใช้แวดล้อม
[146] ใช้หมู่สาวใช้ให้ถือข้าว น้ำ ของเคี้ยว และของบริโภคมิใช่น้อย
นำออกจากเรือนไปยังอุทยาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :578 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [6. ฉักกนิบาต] 5. อโนปมาเถรีคาถา
[147] รื่นรมย์สนุกสนานในอุทยานนั้นแล้ว
ขณะเดินกลับเรือนตน
แวะเข้าไปในป่าอัญชันใกล้เมืองสาเกตเพื่อชมวิหาร
[148] ได้พบพระพุทธเจ้าผู้เป็นแสงสว่างของโลกแล้วเข้าไปเฝ้า
ถวายอภิวาทพระองค์ผู้มีพระจักษุ
ได้ทรงพระกรุณาแสดงธรรมโปรดเรา
[149] และเราได้ฟังธรรมเทศนาของพระองค์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ก็ได้รู้แจ้งชัดสัจจะ ได้สัมผัสธรรมคืออมตบท
ซึ่งปราศจากกิเลสดุจธุลีในที่นั้นนั่นเอง
[150] ต่อแต่นั้น ได้รู้แจ้งพระสัทธรรม
แล้วบวชเป็นบรรพชิต
ได้บรรลุวิชชา 3 แล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่เปล่าปราศจากประโยชน์เลย

5. อโนปมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอโนปมาเถรี
(พระอโนปมาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ด้วยการเปล่งอุทานว่า)
[151] เราเกิดในตระกูลสูงมีสิ่งของเครื่องปลื้มใจมาก
มีทรัพย์มาก สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณสัณฐานและรูปร่าง
เป็นธิดาซึ่งเป็นลูกแท้ ๆ ของเมฆีเศรษฐี
[152] เป็นผู้ที่พระราชโอรสปรารถนา บุตรเศรษฐีหมายปอง
เขาพากันส่งทูตไปขอต่อบิดาของเราว่า ขอจงให้อโนปมาแก่เรา
[153] อโนปมาธิดาของท่านนั้นมีค่าตัวเท่าใด
เราจะให้เงินและทองเป็น 8 เท่าต่อค่าตัวนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :579 }