เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [5. ปัญจกนิบาต] 4. สุนทรีนันทาเถรีคาถา
[80] เพราะเหตุนั้น เราจึงถือเชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่า
จะผูกคอตายเสียในที่นี้ ดีกว่าที่จะกลับไปเป็นคฤหัสถ์อีก
[81] จึงทำบ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้ แล้วสวมบ่วงที่คอ
ทันใดนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากกิเลส

4. สุนทรีนันทาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุนทรีนันทาเถรี
(พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงธรรมให้เหมาะแก่พระสุนทรีนันทาเถรี จึงได้ตรัส
พระพุทธภาษิตเหล่านี้ว่า)
[82] นันทา เธอจงพิจารณาดูร่างกายซึ่งกระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า
จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภภาวนา
[83] ร่างกายหญิงที่เนรมิตขึ้นนี้ ฉันใด
ร่างกายของเธอนั่น ก็ฉันนั้น
ร่างกายของเธอนั่น ฉันใด
ร่างกายหญิงที่เนรมิตขึ้นนี้ ก็ฉันนั้น
ร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป
ที่พวกคนเขลาเพลิดเพลินกันยิ่งนัก
[84] เมื่อเธอพิจารณาร่างกายนั้นอย่างนี้
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
แต่นั้น จะเห็นแจ้งด้วยปัญญาของตนเองได้
(พระสุนทรีเถรีบรรลุพระอรหัตแล้วได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[85] เมื่อเรานั้นไม่ประมาท
ค้นคว้าอยู่โดยแยบคาย
ได้เห็นร่างกายนี้ทั้งภายในและภายนอกตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :569 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [5. ปัญจกนิบาต] 5. นันทุตตราเถรีคาถา
[86] ทีนั้น เราจึงเบื่อหน่ายในร่างกาย
และคลายความกำหนัดในภายใน
ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไร ๆ
เป็นผู้สงบระงับ ดับสนิทแล้ว

5. นันทุตตราเถรีคาถา
ภาษิตของพระนันทุตตราเถรี
พระนันทุตตราเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[87] เราบูชาไฟ ไหว้ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ และเทวดา
ไปยังท่าน้ำแล้วลงดำน้ำ
[88] สมาทานวัตรมากมาย
โกนศีรษะครึ่งหนึ่ง นอนบนแผ่นดิน
ไม่บริโภคอาหารในเวลากลางคืน
[89] แต่ยังยินดีการประดับตกแต่ง
บำรุงร่างกายนี้ด้วยการอาบน้ำและขัดสี
ถูกกามราคะครอบงำแล้ว
[90] ต่อมา ได้ศรัทธา บวชเป็นบรรพชิต
เห็นร่างกายตามความเป็นจริง
จึงถอนกามราคะได้
[91] ตัดภพ ความอยาก และความปรารถนาได้ทั้งหมด
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยกิเลสเครื่องผูกทุกอย่าง
บรรลุความสงบใจแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :570 }