เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [5. ปัญจกนิบาต] 3. สีหาเถรีคาถา
[73] ประดับร่างกายนี้ให้วิจิตรงดงามสำหรับลวงชายโง่
ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนหญิงแพศยา
ดุจนายพรานเนื้อวางบ่วงดักเนื้อไว้
[74] เราอวดเครื่องประดับต่าง ๆ เป็นอันมาก
และอวดอวัยวะที่ควรปกปิดให้ปรากฏ
กระซิกกระซี้ ได้ทำมายาหลายอย่างให้ชายจำนวนมากลุ่มหลง
[75] วันนี้ เรานั้นปลงผมห่มผ้าสังฆาฏิ บวช เที่ยวบิณฑบาต
แล้วมานั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ได้ฌานที่ไม่มีวิตก1
[76] ได้ตัดกิเลสเป็นเหตุเกาะเกี่ยว
ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ได้ทั้งหมด
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เป็นผู้เย็น ดับสนิทแล้ว

3. สีหาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสีหาเถรี
พระสีหาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[77] เมื่อก่อน เราได้ถูกกามราคะเบียดเบียน มีจิตฟุ้งซ่าน
บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เพราะไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย
[78] ถูกกิเลสกลุ้มรุม มักเข้าใจกามว่าสวยงาม
ตกอยู่ในอำนาจราคะ จึงไม่ได้ความสงบจิต
[79] ผอมเหลือง และมีผิวพรรณไม่ผ่องใส
ประพฤติ(พรหมจรรย์)อยู่ 7 ปี มีแต่ทุกข์
ไม่ได้ความสุขทั้งกลางวันและกลางคืน

เชิงอรรถ :
1 ได้บรรลุทุติยฌาน (ขุ.เถรี.อ. 75/100)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :568 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [5. ปัญจกนิบาต] 4. สุนทรีนันทาเถรีคาถา
[80] เพราะเหตุนั้น เราจึงถือเชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่า
จะผูกคอตายเสียในที่นี้ ดีกว่าที่จะกลับไปเป็นคฤหัสถ์อีก
[81] จึงทำบ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้ แล้วสวมบ่วงที่คอ
ทันใดนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากกิเลส

4. สุนทรีนันทาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุนทรีนันทาเถรี
(พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงธรรมให้เหมาะแก่พระสุนทรีนันทาเถรี จึงได้ตรัส
พระพุทธภาษิตเหล่านี้ว่า)
[82] นันทา เธอจงพิจารณาดูร่างกายซึ่งกระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า
จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภภาวนา
[83] ร่างกายหญิงที่เนรมิตขึ้นนี้ ฉันใด
ร่างกายของเธอนั่น ก็ฉันนั้น
ร่างกายของเธอนั่น ฉันใด
ร่างกายหญิงที่เนรมิตขึ้นนี้ ก็ฉันนั้น
ร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป
ที่พวกคนเขลาเพลิดเพลินกันยิ่งนัก
[84] เมื่อเธอพิจารณาร่างกายนั้นอย่างนี้
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
แต่นั้น จะเห็นแจ้งด้วยปัญญาของตนเองได้
(พระสุนทรีเถรีบรรลุพระอรหัตแล้วได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[85] เมื่อเรานั้นไม่ประมาท
ค้นคว้าอยู่โดยแยบคาย
ได้เห็นร่างกายนี้ทั้งภายในและภายนอกตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :569 }