เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [16. วีสตินิบาต] 5. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[805] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นเหตุ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[806] ผู้ที่เห็นรูปแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรูป มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรูปารมณ์นั้น และไม่ติดรูปารมณ์นั้นอยู่
[807] เมื่อพระโยคีนั้นพิจารณาเห็นรูป
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
หรือแม้เสวยเวทนาโดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ก็ฉันนั้น
เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[808] ผู้ที่ฟังเสียงแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในเสียง
มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งสัททารมณ์นั้น และไม่ติดสัททารมณ์นั้นอยู่
[809] เมื่อพระโยคีนั้น ฟังเสียง หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[810] ผู้ที่ดมกลิ่นแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในกลิ่น มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งคันธารมณ์นั้น และไม่ติดคันธารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :474 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [16. วีสตินิบาต] 5. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[811] เมื่อพระโยคีนั้น ดมกลิ่น หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[812] ผู้ที่ลิ้มรสแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรส มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรสารมณ์นั้น และไม่ติดรสารมณ์นั้นอยู่
[813] เมื่อพระโยคีนั้นลิ้มรส หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[814] ผู้ที่ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในโผฏฐัพพะ มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งโผฏฐัพพารมณ์นั้น และไม่ติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่
[815] เมื่อพระโยคีนั้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้นเป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[816] ผู้ที่รู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์
มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งธรรมารมณ์นั้น
และไม่ติดธรรมารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :475 }