เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [15. โสฬสกนิบาต] 2. อุทายีเถรคาถา
[687] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[688] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอาตมาได้บรรลุแล้ว
จะมีประโยชน์อะไรด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายากสำหรับอาตมา

2. อุทายีเถรคาถา
ภาษิตของพระอุทายีเถระ
(พระอุทายีเถระเมื่อจะชมเชยพระศาสดา ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[689] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงบังเกิดในหมู่มนุษย์
ฝึกฝนพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น
ทรงดําเนินไปในทางที่ประเสริฐ ทรงยินดีในธรรมเป็นที่สงบระงับจิต
[690] ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวงพระองค์ใดที่มนุษย์ทั้งหลาย
นอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็
นอบน้อม ข้าพเจ้าฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายดังว่ามานี้
[691] เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ใด ผู้ทรงล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เสด็จออกจากป่า1 มาสู่
นิพพาน เสด็จออกจากกามมายินดีในเนกขัมมะ เหมือนทองคำที่
พ้นจากหิน
[692] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล เป็นดุจช้างตัวประเสริฐ
ทรงรุ่งเรืองล่วงโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดุจภูเขาหิมวันต์เหนือภูเขา
ศิลาเหล่าอื่น ทรงมีพระนามว่านาคโดยแท้จริง ทรงยอดเยี่ยม
กว่าผู้ที่มีนามว่านาคทั้งหมด

เชิงอรรถ :
1 กิเลส (ขุ.เถร.อ. 2/691/28,)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :457 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [15. โสฬสกนิบาต] 2. อุทายีเถรคาถา
[693] เราจะแสดงผู้ที่ได้นามว่านาคโดยแท้จริงนั้นแก่พวกท่าน
เพราะผู้ที่ไม่ทำชั่วทุกอย่าง ชื่อว่านาค
ความสงบเสงี่ยมและความไม่เบียดเบียนทั้ง 2 นั้น
เป็นเท้าหน้าของผู้ที่ได้นามว่า ช้าง
[694] สติ และสัมปชัญญะทั้ง 2 นั้น
เป็นเท้าหลังของผู้ที่ได้นามว่าช้าง
ผู้ที่ได้นามว่าพญาช้าง
มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาขาว
[695] มีสติเป็นคอ มีปัญญาเครื่องพิจารณาค้นคว้าธรรมเป็นเศียร
มีธรรมคือสมถะและวิปัสสนาซึ่งเป็นที่รวมอยู่แห่งปัญญาเป็นท้อง
มีวิเวกเป็นหาง
[696] พญาช้างคือพระพุทธเจ้านั้นทรงเข้าฌานประจำ
ทรงยินดีในนิพพาน มีพระหฤทัยตั้งมั่นดีภายใน
เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
ประทับยืน ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
[697] เมื่อบรรทม ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
แม้ประทับนั่ง ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น ทรงสำรวมทุกอย่าง
นี้เป็นคุณสมบัติของพญาช้างคือพระพุทธเจ้า
[698] พญาช้าง คือพระพุทธเจ้านั้น บริโภคสิ่งที่ไม่มีโทษ
ไม่บริโภคสิ่งที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแล้วงดการสั่งสม
[699] ตัดสังโยชน์ กิเลสเครื่องผูกพันน้อยใหญ่ทั้งหมด
ไม่มีความห่วงใยเลย ไปได้ทุกทิศ
[700] ดอกบัวขาวมีกลิ่นหอมหวน ชวนให้รื่นรมย์ใจเกิดก็ในน้ำ
เติบโตก็ในน้ำ แต่ไม่ติดอยู่กับน้ำ แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :458 }