เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [10. ทสกนิบาต] 6. วังคันตปุตตอุปเสนคาถา
[573] ประกอบด้วยนิวรณ์ 5 เพียบพร้อมด้วยวิตก
ถูกรากเหง้าแห่งภพคือตัณหารัดรึง
ถูกเครื่องปิดบังคือโมหะปิดบังไว้
[574] ร่างกายนี้ถูกเครื่องหมุนคือกรรมให้หมุนไป จึงหมุนไปอย่างนี้
สมบัติ(ที่มีอยู่ในร่างกายนี้)มีวิบัติเป็นที่สุด
ย่อมมีความพลัดพรากกันเป็นธรรมดา
[575] เหล่าปุถุชนผู้โง่เขลาซึ่งยึดถือร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา
ย่อมทำสังสารวัฏที่น่ากลัวให้เจริญ ทั้งยึดภพใหม่ไว้
[576] เหล่ากุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตซึ่งละร่างกายที่น่ารังเกียจนี้
คลายอวิชชา และภวตัณหาซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งภพได้แล้ว
จักปรินิพพานอย่างไม่มีอาสวะ
เหมือนคนที่ต้องการความสุขอยากมีชีวิตอยู่
เห็นอสรพิษตัวเปื้อนคูถแล้วก็หลีกหนีไปฉะนั้น

6. วังคันตปุตตอุปเสนเถรคาถา
ภาษิตของพระวังคันตปุตตอุปเสนเถระ
(พระวังคันตปุตตอุปเสนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[577] ภิกษุพึงอยู่เสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง
ที่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ เพราะการหลีกเร้นเป็นเหตุ
[578] พึงเก็บผ้าจากกองขยะ จากป่าช้า
และตรอกน้อย ตรอกใหญ่นั้น
ทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม แล้วใช้จีวรที่เศร้าหมอง
[579] ภิกษุพึงคุ้มครองทวาร
สำรวมระวังทำใจให้เคารพเอื้อเฟื้อแล้ว
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับสกุล ตามลำดับตรอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :439 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [10. ทสกนิบาต] 7. โคตมเถรคาถา
[580] พึงยินดีด้วยของตามที่ได้ ถึงจะเป็นของเศร้าหมอง
และไม่ควรปรารถนารสอย่างอื่นจากรสตามที่ได้มาให้มาก
สำหรับผู้ที่ยังติดในรส ใจย่อมไม่ยินดีในฌาน
[581] ภิกษุพึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด
เป็นมุนี และไม่อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสอง
[582] ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตควรแสดงตนให้เป็นเหมือนคนโง่และคนใบ้
ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์
[583] ท่านไม่พึงว่าร้ายใคร พึงเว้นการกระทบกระทั่ง
ควรสำรวมในพระปาติโมกข์ และรู้จักประมาณในการขบฉัน
[584] เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิตที่กำหนดนิมิตไว้ดีแล้ว
ประกอบสมถะและวิปัสสนาตามกาลอันสมควรเนือง ๆ
[585] ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตพึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นนิตย์
ประกอบภาวนาทุกเมื่อ
หากยังไม่ถึงที่สุดทุกข์ไม่พึงถึงความวางใจ
[586] อาสวะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์เป็นอยู่อย่างนี้
ย่อมสิ้นไป และท่านก็ย่อมบรรลุนิพพาน

7. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคดมเถระ
(พระโคดมเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[587] บุคคลพึงรู้จักประโยชน์ของตน 1 พึงตรวจดูปาพจน์1 1
พึงตรวจตราสิ่งที่สมควรในศาสนานี้
ของกุลบุตรผู้เข้าถึงความเป็นสมณะ 1

เชิงอรรถ :
1 ธรรมและวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว (ขุ.เถร.อ.2/587/232)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :440 }