เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [6. ฉักกนิบาต] 9. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
[418] เป็นธรรมที่นำเหล่าสัตว์ออกจากสงสาร
เป็นเครื่องข้ามพ้นสงสารได้
ทำรากเหง้าแห่งตัณหาให้เหือดแห้งไป
ทำลายกรรมกิเลสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาตที่มีรากเป็นพิษ
ให้ถึงความดับ
[419] พระธรรมซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด
อันพระพุทธเจ้าแสดงแล้ว
เพื่อทำลายรากเหง้าอวิชชา ให้ตกไปด้วยวชิรญาณ
เมื่อการยึดถือวิญญาณทั้งหลายปรากฏขึ้น
[420] เป็นธรรมให้รู้เวทนาทั้งหลายได้แจ่มแจ้ง
ปลดเปลื้องอุปาทาน
พิจารณาเห็นภพดุจหลุมถ่านเพลิงด้วยญาณ
[421] เป็นธรรมหยั่งรู้ได้ยาก ลึกซึ้ง
ห้ามความแก่และความตายได้
เป็นทางประเสริฐประกอบด้วยองค์ 8 สงบทุกข์ เกษม
[422] เป็นธรรมเครื่องเห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง
ถึงความปลอดโปร่งอย่างมาก สงบ มีความเจริญเป็นที่สุด
เพราะทรงทราบกรรมว่าเป็นกรรม และวิบากโดยความเป็นวิบาก
แห่งธรรมที่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

9. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระเชนตปุโรหิตบุตรเถระ
(พระเชนตปุโรหิตบุตรเถระได้กล่าว 6 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[423] เราเป็นผู้มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล โภคะ อิสริยยศ
ทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง
เราได้ประพฤติมัวเมาด้วยความเมาอย่างอื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :412 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [6. ฉักกนิบาต] 10. สุมนเถรคาถา
[424] เราเป็นคนโง่ ถูกอติมานะกำจัด มีใจกระด้างจัด ชูมานะดุจธง
จึงไม่สำคัญใคร ๆ ว่า เสมอกับตนและยิ่งกว่าตน
[425] กระด้างเพราะมานะ ไม่เอื้อเฟื้อ จึงไม่ยอมกราบไหว้ใคร ๆ
แม้เป็นมารดา บิดา และแม้ผู้อื่นที่ควรเคารพ
[426] เราได้พบพระศาสดาผู้ทรงแนะนำ
เลิศประเสริฐสูงสุดกว่าสารถีทั้งหลาย
ทรงรุ่งเรืองอยู่ดุจพระอาทิตย์ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
[427] จึงมีใจเลื่อมใส ละทิ้งมานะและความมัวเมาแล้ว
กราบไหว้พระศาสดาผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทุกหมู่เหล่าด้วยเศียรเกล้า
[428] ความถือตัวว่าดีกว่าเขา และความถือตัวว่าเลวกว่าเขา
เราละถอนได้เด็ดขาดแล้ว
อัสมิมานะเราก็ตัดขาดแล้ว
มานะทุกอย่างเราก็ทำลายเสียแล้ว

10. สุมนเถรคาถา
ภาษิตของพระสุมนเถระ
(พระสุมนเถระได้กล่าว 6 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[429] เมื่อครั้งเราบวชใหม่ มีอายุได้ 7 ขวบ โดยกำเนิด
ได้ข่มพญานาค ผู้มีฤทธิ์มากด้วยฤทธิ์
[430] ได้ตักน้ำจากสระใหญ่อโนดาดมาถวายพระอุปัชฌาย์
พระศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นเราแล้ว ตรัสดังนี้ว่า
[431] สารีบุตร เธอจงดูเด็กน้อยนี้ ผู้มีใจตั้งมั่นดีภายใน
กำลังถือหม้อน้ำมานี้
[432] สามเณรของพระอนุรุทธะ มีวัตรน่าเลื่อมใส
มีอิริยาบถงดงาม ทั้งแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :413 }