เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [6. ฉักกนิบาต] 9. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
[418] เป็นธรรมที่นำเหล่าสัตว์ออกจากสงสาร
เป็นเครื่องข้ามพ้นสงสารได้
ทำรากเหง้าแห่งตัณหาให้เหือดแห้งไป
ทำลายกรรมกิเลสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาตที่มีรากเป็นพิษ
ให้ถึงความดับ
[419] พระธรรมซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด
อันพระพุทธเจ้าแสดงแล้ว
เพื่อทำลายรากเหง้าอวิชชา ให้ตกไปด้วยวชิรญาณ
เมื่อการยึดถือวิญญาณทั้งหลายปรากฏขึ้น
[420] เป็นธรรมให้รู้เวทนาทั้งหลายได้แจ่มแจ้ง
ปลดเปลื้องอุปาทาน
พิจารณาเห็นภพดุจหลุมถ่านเพลิงด้วยญาณ
[421] เป็นธรรมหยั่งรู้ได้ยาก ลึกซึ้ง
ห้ามความแก่และความตายได้
เป็นทางประเสริฐประกอบด้วยองค์ 8 สงบทุกข์ เกษม
[422] เป็นธรรมเครื่องเห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง
ถึงความปลอดโปร่งอย่างมาก สงบ มีความเจริญเป็นที่สุด
เพราะทรงทราบกรรมว่าเป็นกรรม และวิบากโดยความเป็นวิบาก
แห่งธรรมที่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

9. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระเชนตปุโรหิตบุตรเถระ
(พระเชนตปุโรหิตบุตรเถระได้กล่าว 6 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[423] เราเป็นผู้มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล โภคะ อิสริยยศ
ทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง
เราได้ประพฤติมัวเมาด้วยความเมาอย่างอื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :412 }