เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [3. ติกนิบาต] 8. ปัสสิกเถรคาถา
[237] ในหมู่มนุษย์นี้ นรชนผู้ใดผู้หนึ่งเบียดเบียนสัตว์อื่น
นรชนนั้นย่อมเสื่อมจากความสุข
ในโลกทั้งสอง คือ โลกนี้และโลกหน้า
[238] ส่วนนรชนใดมีจิตเมตตา ช่วยเหลือสัตว์ทุกหมู่เหล่า
นรชนเช่นนี้นั้นย่อมประสบบุญมาก
[239] บุคคลควรศึกษาคำสุภาษิต
การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ
การอยู่ผู้เดียวในที่ลับ
และธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต

8. ปัสสิกเถรคาถา
ภาษิตของพระปัสสิกเถระ
(พระปัสสิกเถระเมื่อกราบทูลพระศาสดาถึงอุปการะที่ตนทำแก่พวกญาติ จึง
ได้กล่าว 3 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[240] คนมีศรัทธา มีปัญญาดี ตั้งอยู่ในธรรม
มีศีลสมบูรณ์ แม้เพียงคนเดียว
ย่อมมีประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
[241] ญาติทั้งหลายถูกเราผู้มีความรักญาติและพวกพ้อง
แนะนำตักเตือนแล้วด้วยความเอ็นดู
จึงทำสักการะบูชาในภิกษุทั้งหลาย
[242] ญาติเหล่านั้นตายล่วงลับไป
ได้รับความสุขในเทพชั้นดาวดึงส์
พี่น้องชายและมารดาของข้าพระองค์
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามที่ปรารถนา บันเทิงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :377 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [3. ติกนิบาต] 10. สาฏิมัตติยเถรคาถา
9. ยโสชเถรคาถา
ภาษิตของพระยโสชเถระ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงสรรเสริญพระยโสชเถระว่า เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยอย่างยิ่ง จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[243] นรชนผู้รู้ประมาณในข้าวและน้ำ ย่อมซูบผอม
มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็นคล้ายเถาหญ้านาง แต่มีใจไม่ย่อท้อ
(พระยโสชเถระเมื่อกล่าวสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[244] ภิกษุถูกเหลือบและยุงกัดในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายนั้น
เหมือนช้างในสงคราม
[245] ภิกษุอยู่ผู้เดียว เป็นเหมือนพรหม
อยู่ 2 รูปเหมือนเทพ
อยู่ 3 รูปเหมือนชาวบ้าน
อยู่มากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น

10. สาฏิมัตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระสาฏิมัตติยเถระ
(สาฏิมัตติยเถระเมื่อกล่าวสอนธรรมแก่เจ้าของเรือนนั้น จึงได้กล่าว 3
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[246] เมื่อก่อน ท่านมีศรัทธา
(แต่)วันนี้ ท่านไม่มีศรัทธา
สิ่งใดเป็นของท่าน ขอสิ่งนั้นจงเป็นของท่านตามเดิมเถิด
เราไม่มีความทุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :378 }